TNN ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ "ผู้ตรวจอิสระ" ตรวจการก่อสร้างในอนาคต

TNN

TNN Exclusive

ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ "ผู้ตรวจอิสระ" ตรวจการก่อสร้างในอนาคต

 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต

นายกสมาคมวิศวกรฯ เสนอ "ผู้ตรวจอิสระ" ตรวจการก่อสร้างในอนาคต - ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี

นายกสมาคมวิศวกรฯ เสนอ "ผู้ตรวจอิสระ" ตรวจการก่อสร้างในอนาคต - ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี 


กรณีทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดพังถล่มลงมา เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีกหลายราย นำไปสู่การตั้งคำถามถึงมาตรฐานการก่อสร้าง 

การกำกับตรวจสอบ รวมไปถึงความปลอดภัยของประชาชนนั้น



 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต


TNN online สัมภาษณ์ 'ศ.ดร. อมร พิมานมาศ  นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย' ถึงการตรวจสอบเหตุ #สะพานถล่ม ย่านลาดกระบัง รวมถึงข้อเสนอแนะต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ศ.ดร. อมร ระบุว่า การตรวจสอบสาเหตุในเหตุการณ์ครั้งนี้ ต้องตรวจสอบเบื้องต้นโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องตั้งขึ้นมาจากหลายๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสภาวิศวกร สมาคมวิศวกรโครงสร้างฯ  วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) และหน่วยงานของภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น ว่าสาเหตุการถล่มในครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด



 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต  'ศ.ดร. อมร พิมานมาศ  นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย' 

 




ชี้ประเมิน 3 ลำดับขั้น 'ออกแบบ - คำนวณ - ขั้นตอนการทำงาน' ปม #สะพานถล่ม


นายกสมาคมวิศวกรฯ ระบุว่า สำหรับการประเมินสาเหตุเบื้องต้นในขณะนี้ ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน เนื่องจากว่าขณะนี้ดูได้เพียงแค่ภาพถ่าย และวิดีโอ แต่จริง ๆ แล้วนั้นการประเมินให้ถูกต้องจะต้องดูการออกแบบ เพราะอาจจะเริ่มต้นจากการก่อสร้างว่าได้ทำตามแบบก่อสร้างหรือไม่ ส่วนลำดับที่สอง คือมีการคำนวณประกอบระหว่างก่อสร้างหรือไม่ 


โดยขณะการก่อสร้างควรมีการคำนวณประกอบเป็นระยะๆ ว่าจุดต่างๆ มีแรงเกิดขึ้นเท่าไหร่ และส่วนต่างๆ สามารถรับน้ำหนักได้หรือไม่ และลำดับที่ 3 คือต้องตรวจสอบในเรื่องของขั้นตอนการทำงาน หรือเรียกว่า method statement ว่าในแต่ละขั้นตอนทางผู้ประกอบหรือผู้รับเหมาได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือไม่ ขณะนี้ต้องตรวจสอบให้ได้ว่า โดมิโน่ตัวแรกนั้นอยู่ที่ขั้นตอนไหน 




 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต ภาพ : TNNOnline 

 



เสนอ 'ผู้ตรวจอิสระ' ตรวจสอบการดำเนินการก่อสร้างในอนาคต


ศ.ดร. อมร พิมานมาศ ระบุว่า โครงการก่อสร้างนี้ ภาครัฐเป็นคนดำเนินการและเป็นฝ่ายจัดหาผู้รับเหมา เพราะฉะนั้นในเรื่องของการกำกับ การควบคุมมาตรฐานในการก่อสร้าง จะต้องกระทำด้วยความเข้มงวดและไม่ย่อหย่อน


"ถ้าจะถามว่าหลักเกณฑ์ หลักการต่างๆ ทางวิศวกรรม มันมีครบอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่ามันไม่มี เพียงแต่ว่าการปฏิบัติจะต้องเคร่งครัด ทั้งผู้ปฏิบัติ และจะต้องมีทั้งผู้ตรวจสอบ" ศ.ดร. อมร ระบุ



 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต ภาพ : TNNOnline 

 



ศ.ดร. อมร ระบุต่อไปว่า สิ่งที่ขาดไปก็คือการสุ่มตรวจโครงสร้าง การก่อสร้างขนาดใหญ่ เหมือนผู้รับเหมาได้รับงานไป ศ.ดร. อมร ยกตัวอย่างถึงกรณีทั่วไปว่า สมมติว่าผู้รับเหมาอยากเร่งงาน อาจจะมีการลัดขั้นตอนไป จึงเสนอว่า ควรมีผู้ตรวจอิสระ ซึ่งอาจแต่งตั้งโดยองค์กรวิชาชีพ และมีอำนาจในการเข้าไปตรวจได้เลยว่า การก่อสร้างดำเนินการถูกต้อง ได้มาตรฐานหรือไม่ มีวิศวกรกำกับดูแลหรือไม่


นอกจากนี้ อีกหนึ่งประเด็นซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องสำคัญคือ การก่อสร้างในที่ใกล้ถนน หรือชุมชนหนาแน่น ต้องพิจาราให้ดีว่า หากเป็นงานอันตราย อาจจะต้องปิดการจราจร หรือไม่ทำการก่อสร้างในช่วงเวลาที่มีผู้คนใช้ถนนอย่างหนาแน่น ซึ่งต้องมีการวางแผน 


"ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้ดำเนินการในขั้นตอนใด ต้องประเมินสถานการณ์ว่า ถ้าเกิดว่าคุณทำขั้นตอนนี้แล้วมันเกิดความเสี่ยงอันตรายอย่างรุนแรง ก็อาจจะต้องไม่ทำในห้วงเวลานี้  อาจจะทำในช่วงกลางคืน หรืออาจจะต้องปิดการจราจร อันนี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องมีการประสานงานกันให้ดี"

นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย กล่าว




 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต ภาพ : TNNOnline 

 




ย้อน 4 อุบัติเหตุซ้ำรอย ระหว่างก่อสร้างทางสัญจรในรอบปี 'พระราม 2' ครองแชมป์


นอกจากกรณีเหตุการณ์สะพานถล่ม ย่านลาดกระบังดังกล่าวแล้ว ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ยังปรากฏอุบัติเหตุระหว่างก่อสร้างทางสัญจรแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง ดังนี้


7 พ.ค.66 :  พบคานปูนขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 10 เมตร ตกลงมาทับร่างของ นายวรวุฒิ อายุ 54 ปี  เสียชีวิต บริเวณจุดสร้างทางด่วน ตรงข้ามศาลเจ้าแม่งู ถนนพระราม 2 ฝั่งขาออก แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 


5 ก.ย.65 : เกิดอุบัติเหตุรถเครนยกเหล็กชิ้นส่วนของคอนกรีตที่อยู่บริเวณหัวเสา (Pier Segment) เสียหลักและทรุด ทำให้เหล็กร่วงลงบนทางหลวงหมายเลข 304 ซึ่งอยู่ในโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 290 กับทางหลวงหมายเลข 304 จ.นครราชสีมา 


31 ก.ค.65 : เกิดเหตุแผ่นปูนสะพานกลับรถที่อยู่ระหว่างปิดซ่อมบำรุง หล่นลงมาทับรถยนต์หลายคันบนถนนพระราม 2 ฝั่งมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ หน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 


17 ก.ค.65 : เกิดเหตุวัสดุก่อสร้างร่วงหล่นลงบนถนนพระราม 2 ทำให้รถได้รับความเสียหาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน  ในพื้นที่โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี – ปากท่อ   (ถนนพระราม 2)


 


 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต



สำหรับโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจราจรบนถนนดังกล่าว มีความรวดเร็ว รองรับการเจริญเติบโตของชุมชนและสนามบินสุวรรณภูมิ แก้ไขปัญหาการจราจร เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตลาดกระบัง ระยะทางโครงการรวม 3,500 เมตร เจ้าของโครงการคือ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีงบประมาณก่อสร้าง 1,664,550,000 บาท เริ่มสัญญาเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 64 - 11 ส.ค.66 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จ เดือนธันวาคม 2567


 ย้อน 4 เหตุการณ์สะพานถล่มในรอบปี เสนอ ผู้ตรวจอิสระ ตรวจการก่อสร้างในอนาคต







เรียบเรียงโดย : ยศไกร รัตนบรรเทิง บรรณาธิการ TNNOnline

ภาพ : TNNOnline 

ข่าวแนะนำ