TNN นักวิจัยญี่ปุ่นคิดค้นวัคซีนต้านเอดส์ ทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกในลิง !!

TNN

Tech

นักวิจัยญี่ปุ่นคิดค้นวัคซีนต้านเอดส์ ทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกในลิง !!

นักวิจัยญี่ปุ่นคิดค้นวัคซีนต้านเอดส์ ทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกในลิง !!

ความหวังในการกำจัดโรคร้ายจากไวรัส HIV กำลังเข้าใกล้สู่ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง

หนึ่งในโรคร้ายที่ท้าทายวงการแพทย์มากที่สุดโรคหนึ่ง คือ โรคเอดส์จากการติดเชื้อ HIV ซึ่งล่าสุดนักวิจัยจากญี่ปุ่นฉายแววความสำเร็จในการผลิตวัคซีนต้านไวรัสร้ายนี้ในลิงได้ และพร้อมพัฒนาสู่วัคซีนในมนุษย์ !!

นักวิจัยญี่ปุ่นคิดค้นวัคซีนต้านเอดส์ ทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกในลิง !! ไวรัส HIV ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ที่มาของภาพ CDC

 


ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ทั่วโลกกว่า 37.7 ล้านราย และมีอีกหลายล้านที่เสียชีวิตด้วยเอดส์ อนึ่ง การติดเชื้อ HIV ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคเอดส์เสมอไป เพียงแต่ถ้าไม่สามารถควบคุมเชื้อได้จนกระทั่งภูมิคุ้มกันต่ำมาก ก็จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยติดเชื้ออื่น ๆ อย่างง่ายดาย ซึ่งในขั้นนี้เราจะเรียกว่าโรคเอดส์ (AIDS)


โชคยังดีที่ยาต้านไวรัสในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากพอที่จะช่วยยับยั้งไม่ให้ HIV แพร่กระจายในร่างกาย เมื่อมันอยู่อย่างสงบ ผู้ป่วยก็จะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามปกติ หากแต่เชื้อไวรัสยังคง "แอบแฝง" อยู่ในร่างกาย หากขาดยาหรือไม่ได้รับการรักษาอาจดำเนินกลายเป็นโรคเอดส์ได้ อีกทั้งยาต้านไวรัสบางตัวยังมีผลข้างเคียงมาก จนทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้เช่นกัน


ทีมนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาวัคซีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สร้างสารแอนติบอดีจำเพาะต่อ HIV พร้อมเริ่มต้นทดลองในลิงจำนวน 7 ตัว (ซึ่งลิงสามารถติดไวรัสกลุ่ม HIV ร่วมกับมนุษย์ได้ ดังเช่นสมมุติฐานที่เชื่อว่า HIV ในมนุษย์นั้นแท้จริงมีจุดเริ่มต้นจากลิง) ผลปรากฏว่า หลังได้รับวัคซีนแล้วมีลิงจำนวน 6 จาก 7 ตัวตรวจไม่พบ HIV สายพันธุ์รุนแรงในกระแสเลือด อีกทั้งยังไม่ปรากฏผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนไปแล้วด้วย หลังทราบผลลัพธ์ที่น่าพอใจนี้ ทีมนักวิจัยจะเริ่มพัฒนาวัคซีนที่จำเพาะต่อ HIV สายพันธุ์ต่าง ๆ ในมนุษย์เป็นลำดับถัดไป

นักวิจัยญี่ปุ่นคิดค้นวัคซีนต้านเอดส์ ทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกในลิง !! ที่มาของภาพ Bruker

 


สำหรับการพัฒนาวัคซีนต้าน HIV ก่อนหน้านี้มีบริษัท Moderna ที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี mRNA แต่ก็มีข้อโต้แย้งถึงประสิทธิภาพของวัคซีนประเภทนี้ที่ไม่เหมาะกับไวรัสอย่าง HIV เพราะอาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์อละดื้อต่อวัคซีนสูง ซึ่งคงต้องติดตามกันต่อไปวัคซีนเหล่านี้จะสำเร็จได้หรือไม่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering

ข่าวแนะนำ