TNN แบบจำลองแขนหุ่นยนต์ไฮดรอลิกส์ติดตั้ง AI หยิบจับวัตถุที่มีความซับซ้อนสูง

TNN

Tech

แบบจำลองแขนหุ่นยนต์ไฮดรอลิกส์ติดตั้ง AI หยิบจับวัตถุที่มีความซับซ้อนสูง

แบบจำลองแขนหุ่นยนต์ไฮดรอลิกส์ติดตั้ง AI หยิบจับวัตถุที่มีความซับซ้อนสูง

แบบจำลองแขนหุ่นยนต์ไฮดรอลิกส์ติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ AI สามารถหยิบจับวัตถุที่มีความซับซ้อน

นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (CSAIL) สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์หรือ MIT พัฒนาแบบจำลองแขนหุ่นยนต์ไฮดรอลิกส์ติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ AI สามารถหยิบจับวัตถุที่มีความซับซ้อนมากกว่า 2,000 รูปแบบ แขนหุ่นยนต์สามารถเรียนรู้วิธีการหยิบจับวัตถุได้ด้วยตัวเอง เปิดหนทางใหม่ในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้เป็นธรรมชาติมาขึ้นพร้อมประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน


แขนหุ่นยนต์ไฮดรอลิกส์ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดแต่ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงปี 1954 โดยวิศวกร George Devol มีชื่อเรียกว่าแขนหุ่นยนต์เพื่อการเคลื่อนย้ายสิ่งของ (Programmed Article Transfer) อย่างไรก็ตามปัญหาอย่างหนึ่งของแขนหุ่นยนต์ คือ ปัญหาในการหยิบจับวัตถุที่มีความซับซ้อนในลักษณะเดียวกับที่นิ้วมือของมนุษย์สามารถทำได้ ทีมงานนักวิจัยต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์


การทดสอบในระยะแรกทีมงานได้ทดสอบการทำงานของระบบปัญญาประดิษฐ์โดยใช้แบบจำลองในคอมพิวเตอร์สร้างภาพ 3 มิติแสดงรายละเอียดของวัตถุและการทำงานของแขนหุ่นยนต์ ผลการทดสอบพบว่าแขนหุ่นยนต์ในแบบจำลองคอมพิวเตอร์สามารถหยิบจับวัตถุสำเร็จได้เกือบ 100% อย่างไรก็ตามในการทดสอบหยิบจับวัตถุที่ไม่สมมาตร เช่น กรรไกรหรือไขควง อัตราความสำเร็จลดลงประมาณ 30%


สำหรับการทดสอบในระยะต่อไปทีมงานต้องทำการติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวเข้ากับตัวหุ่นยนต์เพื่อควบคุมและสั่งการหยิบจับวัตถุของหุ่นยนต์ไฮดรอลิกส์ที่มีข้อต่อ การขยับเปลี่ยนตำแหน่งที่ซับซ้อน รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้งานกับหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยง ซึ่งปัจจุบันได้รับการพัฒนาโดยบริษัทเอกชนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น หุ่นยนต์ Mini Cheetah ที่พัฒนาโดย MIT หุ่นยนต์ ATLAS ที่พัฒนาโดยบริษัท Boston Dynamics


ข้อมูลจาก engadget.com, universal-robots.com 

ภาพจาก csail.mit.edu


ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ