ที่ชาร์จรถ EV ไซส์กระเป๋า "ZipCharge" พกสะดวก ชาร์จได้ทุกที่!
อุ่นใจเมื่อเดินทาง ด้วยที่ชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบพกพา ขนาดเท่ากระเป๋าเดินทางเท่านั้น
สตาร์ทอัพ ZipCharge กล่าวว่า 40% ของครอบครัวที่มีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า กลับไม่มีจุดชาร์จพลังงานไว้ที่ริมถนน ทำให้การจะเป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสักคันดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะไม่มีที่ชาร์จคอยรองรับอย่างเพียงพอ และนี่จึงเป็นที่มาของ ZipCharge The Go ที่ชาร์จรถไฟฟ้าขนาดกะทัดรัดนั่นเอง
The Go เป็นผลงานของผู้ก่อตั้ง ZipCharge คือ Richie Sibal และ Jonathan Carrier ซึ่งทั้งสองมีประสบการณ์ด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์มาหลายสิบปี โดยเคยทำงานให้กับ McLaren Automotive, Jaguar Land Rover, Lotus, the Gordon เมอร์เรย์ กรุ๊ป และ LEVC อีกด้วย
สำหรับ ZipCharge The Go มีหน้าตาคล้ายกับกระเป๋าเดินทางขนาดกะทัดรัด มีโครงสร้างแบบอะลูมิเนียมปกป้องระบบด้านใน ส่วนตัวกล่องด้านนอกทำจากพลาสติกรีไซเคิล มีที่จับสำหรับพกพาทั้งด้านข้างและด้านบน มีพอร์ตสำหรับชาร์จ และไฟ LED แสดงสถานะ มีล้อเลื่อนสองล้อเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย และฝาครอบด้านหน้าสามารถปรับแต่งสีและการตกแต่งให้เข้ากับสไตล์รถ EV ของเราได้ด้วย
วิธีใช้ก็ง่ายมากคล้ายกับเวลาเราใช้พาวเวอร์แบงค์ชาร์จมือถือ โดยเราจะต้องชาร์จแบตเตอรี่ NMC ขนาด 4-kWh ไว้ก่อน เมื่อชาร์จเต็มแล้วก็จะสามารถพกพาไปไหนมาไหน ชาร์จรถ EV ได้สะดวกตามต้องการ โดยมันสามารถชาร์จ EV เพื่อให้รถสามารถเดินทางได้สูงสุดอยู่ท่ีประมาณ 32 กิโลเมตร ซึ่งอาจเพียงพอสำหรับการเดินทางไปและกลับจากที่ทำงาน สำหรับการไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ในเวลาอันรวดเร็ว
สำหรับระบบภายใน ZipCharge The Go มีตัวอินเวอร์เตอร์ AC-DC แบบสองทิศทางที่ช่วยให้เก็บพลังงานและป้อนพลังงานออกได้ มีโมดูลการสื่อสารในตัวที่รองรับการชาร์จอัจฉริยะ การอัปเดตระบบผ่านทางอากาศ การวินิจฉัยจากระยะไกล และมาพร้อมกับการเชื่อมต่อมือถือ 2G/4G ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการ ZipCharge The Go ผ่านแอปพลิเคชันได้ ที่เจ๋งสุด ๆ คือมีการใช้งาน AI เพื่อเรียนรู้นิสัยการชาร์จของเรา และเมื่อเวลาผ่านไปมันก็จะให้คำแนะนำในการจัดตารางเวลาชาร์จ ป้องกันการลืมหรือชาร์จไม่เพียงพอ
ZipCharge ตั้งเป้าจำหน่ายแก่ลูกค้ารายแรกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2022 นี้ ยังไม่มีราคาจำหน่ายระบุแน่ชัด แต่มีแบบสมัครสมาชิกรายเดือนเริ่มต้นที่ประมาณ 66 เหรียญสหรัฐ หรือราว ๆ 2,207 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67