TNN พบสารต้านมะเร็งใน เชื้อราหิมาลัย พร้อมปรับปรุงให้ออกฤทธิ์ดีขึ้นถึง 40 เท่า !!

TNN

Tech

พบสารต้านมะเร็งใน เชื้อราหิมาลัย พร้อมปรับปรุงให้ออกฤทธิ์ดีขึ้นถึง 40 เท่า !!

พบสารต้านมะเร็งใน เชื้อราหิมาลัย พร้อมปรับปรุงให้ออกฤทธิ์ดีขึ้นถึง 40 เท่า !!

นักวิทย์พบสารต้านมะเร็งในเชื้อราหิมาลัย ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และมีการปรับปรุงให้ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าเดิมถึง 40 เท่า

สิ่งหนึ่งที่ท้าทายวงการแพทย์ในปัจจุบัน คือการคิดค้นยาต้านมะเร็ง เนื่องด้วยเป็นโรคร้ายที่ยากแก่การรักษาและลุกลามได้รวดเร็ว การได้มาซึ่งยาที่มีประสิทธิภาพอาจเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทุกคนได้เลยทีเดียว


ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ร่วมกับบริษัทผลิตยา Nucana ค้นพบสาร "คอร์ไดซีพิน" (Cordycepin) จากเชื้อราหิมาลัย ซึ่งเดิมถูกใช้เป็นยาลดอาการอักเสบในต้นตำรับยาจีน และเชื่อว่ามันมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งก่อนมานับร้อยปี เพื่อพิสูจน์ความเชื่อนี้จึงต้องมีการทดลองให้เข้าใจถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารนี้ก่อนนำไปทำยาต้านมะเร็ง


คอร์ไดซีพินมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ เพราะหลังจากที่สารถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด จะมีเอนไซม์ ADA ในน้ำเลือดเข้ามาสลายโมเลกุลก่อนที่มันจะเข้าไปออกฤทธิ์ยังเซลล์มะเร็ง จึงต้องใช้สารนี้ในปริมาณจึงจะออกฤทธิ์ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยและอาจมีระดับยาไม่คงที่ในการออกฤทธิ์ด้วย

พบสารต้านมะเร็งใน เชื้อราหิมาลัย พร้อมปรับปรุงให้ออกฤทธิ์ดีขึ้นถึง 40 เท่า !! ที่มาของภาพ Makiselifeup

 



เพื่อรักษาให้สารคอร์ไดซีพินมีความคงตัวมากขึ้น Nucana จึงใช้เทคโนโลยี ProTide ซึ่งเป็นการเติมหมู่เคมีบางชนิดเข้าไปในโมเลกุลของคอร์ไดซีพิน ทำให้มันไม่ถูกทำลายโดยเอนไซม์เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด และสามารถลำเลียงไปยังเซลล์มะเร็งเพื่อออกฤทธิ์ได้โดยตรง


หลังการปรับปรุงคอร์ไดซีพินสามารถออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 40 เท่า และจากการศึกษาผลของการใช้ยาต้านมะเร็งนี้ในอาสาสมัครตั้งแต่ปี 2019 พบว่าอาสาสมัครผู้ป่วยมะเร็ง 28 รายมีอาการดีขึ้นตามลำดับ (เช่น มีค่าเอ็นไซม์มะเร็งในเลือดลดลง, ผลตรวจร่างกายดีขึ้น, ขนาดก้อนมะเร็งลดลง เป็นต้น) แต่นี่ยังเป็นเพียงการทดลองในระยะเริ่มต้น (Phase I) กว่าจะนำมาใช้ในมนุษย์ได้อย่างจริงจังคงต้องใช้เวลาสักพักใหญ่


ถึงกระนั้น สารคอร์ไดซีพินนี้เผยให้เห็นหนทางในการพัฒนายาต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง และอาจกลายเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ยาเคมีบำบัดที่อาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย หวังว่านักวิทยาศาสตร์จะพัฒนายานี้ให้สำเร็จโดยไว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Science Alert

ข่าวแนะนำ