สเปิร์มบอต (Spermbot) รถแท็กซี่ของตัวอสุจิ ช่วยแก้ปัญหาภาวะเป็นหมันจากตัวอสุจิเคลื่อนไหวน้อย
นักวิทยาศาสตร์คิดค้นวิธีแก้ปัญหาภาวะเป็นหมันจากตัวอสุจิเคลื่อนไหวน้อยในผู้ชาย ด้วยการใช้เทคโนโลยีนาโนบอตเข้าช่วย
หน้าที่ของสเปิร์มหรอตัวอสุจิ คือการมอบชีวิตใหม่ให้กับครอบครัว เราต่างทราบกันดีว่าอสุจินับล้านจะต้องแข่งกันว่ายน้ำไปยังเซลล์ไข่เพื่อปฏิสนธิให้กลายเป็นทารก แต่จากการสำรวจพบบว่า 7% ของมนุษย์เพศชายมักประสบปัญหา "อสุจิไม่ว่ายน้ำ" แม้พวกมันจะมีสุขภาพแข็งแรงก็ตาม จึงตามมาด้วยปัญหาการมีบุตรยากนั่นเอง
ภาวะที่ตัวอสุจิเคลื่อนไหวน้อย เรียกว่า "Asthenozoospermia" (แอสธีโนซูโอสเปอร์เมีย) จัดเป็นหนึ่งสาเหตุการเป็นหมันในผู้ชายและปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา อย่างไรก็ตาม การศึกษาของนักวิจัยจากประเทศเยอรมนี ได้คิดค้นวิธีที่จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวให้กับตัวอสุจิได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนักวิจัยเรียกมันว่า "สเปิร์มบอต" (Spermbot) นั่นเอง
สเปิร์มบอต จะมีลักษณะเป็นมอเตอร์โลหะเกลียวขนาดเล็กจิ๋ว เมื่อพวกมันเข้าไปอยู่ร่วมกับน้ำอสุจิของผู้ชาย พวกมันจะเข้าจับกับตัวอสุจิโดยอาศัยพลังงานแม่เหล็กที่จำเพาะกับตัวอสุจิเท่านั้น จึงไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ใกล้เคียง สเปิร์มบอตจะเข้าล็อกกับส่วนหัวของตัวอสุจิได้พอดี และส่วนปลายที่เป็นเกลียวจะทำหน้าที่พาตัวอสุจิให้แหวกว่ายจนกระทั่งเจอเข้ากับเซลล์ไข่ เมื่อตัวอสุจิเข้าปฏิสนธิแล้วสเปิร์มบอทส์ก็จะหลุดออกไป
นักวิจัยเผยว่าสเปิร์มบอตทำหน้าที่เหมือนรถแท็กซี่ที่พาตัวอสุจิไปส่งยังเซลล์ไข่โดยสวัสดิภาพ จากการทดลองในหลอดทดลองปรากฏว่าพวกมันช่วยให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น และไม่เป็นอันตรายตัวเซลล์รอบข้างรวมถึงตัวอสุจิเองด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการทดลองใช้สเปิร์มบอตในมนุษย์ ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าสิ่งที่ท้ายทายคือการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้หญิง หากภูมิคุ้มกันตรวจพบว่าสเปิร์มบอตเป็นสิ่งแปลกปลอม พวกมันก็อาจจะโดนกำจัดทิ้งไปหมดได้ หรืออาจเกิดความผิดพลาดที่สเปิร์มบอตไม่ยอมหลุดออกจากตัวอสุจิ ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการปฏิสนธิตามมาได้
ทั้งนี้ นักวิจัยเชื่อว่าหากการทดลองในมนุษย์ได้ผลสำเร็จ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผสมเทียมหรือปฏิสนธิภายนอก (ซึ่งถ้าใครเคยไปทำจะรู้ว่ามีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งโอกาสประสบความสำเร็จยังไม่แน่นอนด้วย) ในอนาคตคงต้องมีการพัฒนากันต่อเพื่อให้สเปิร์มบอตพร้อมสำหรับการทดลองในมนุษย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67