TNN โลกทางการแพทย์ต้องการ Emoji ช่วยให้หมอสื่อสารกับคนไข้ได้ง่ายขึ้น

TNN

Tech

โลกทางการแพทย์ต้องการ Emoji ช่วยให้หมอสื่อสารกับคนไข้ได้ง่ายขึ้น

โลกทางการแพทย์ต้องการ Emoji ช่วยให้หมอสื่อสารกับคนไข้ได้ง่ายขึ้น

อีโมจิด้านการแพทย์ที่มีอยู่ในตอนนี้ ยังไม่ตอบโจทย์การนำไปใช้อย่างกว้างขวาง จึงมีการเสนอให้เพิ่มอีโมจิแบบอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ระหว่างหมอและคนไข้

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2020 ฮี ชูฮาน (Shuhan He) แพทย์ฉุกเฉินจากโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้ความร่วมมือกับทาง Unicode สร้างอีโมจิหัวใจและปอดตามโครงสร้างกายวิภาคของมนุษย์ แต่ชูฮานอยากให้มีอีโมจิด้านการแพทย์เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วย


ช่วงที่ผ่านมามีอีโมจิที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขภาพเพิ่มมากขึ้นจากมาตรฐาน Unicode ไม่ว่าจะเป็น สเตโธสโคป (Stethoscope หูฟังของแพทย์), เครื่องช่วยฟัง, กระดูก และเชื้อโรค เพิ่มความน่าสนใจและลูกเล่นมากมายในการสื่อสารระหว่างบุคคล

โลกทางการแพทย์ต้องการ Emoji ช่วยให้หมอสื่อสารกับคนไข้ได้ง่ายขึ้น


ล่าสุดชูฮานและทีมงานอยากสร้างอีโมจิด้านการแพทย์เพิ่มเติม ทั้งอีโมจิอวัยวะ เช่น กระเพาะอาหาร, ตับ, ลำไส้ เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กระปุกน้ำเกลือ, เครื่อง CT scan และแผงยา โดยชูฮานต้องการผลักดันให้อีโมจิเหล่านี้กลายเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้ในการสื่อสารด้านการแพทย์นั่นเอง


การบรรยายอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย มักจะบรรยายมาจากความรู้สึกที่ตนเองได้รับ มากกว่าการใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ในการสื่อสาร เป็นต้นว่าหากผู้ป่วยรายหนึ่งมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอก อาจจะบรรยายอาการว่ารู้สึกเหมือนโดนของหนักหรือช้างเหยียบบนหน้าอก หรืออาจจะบอกว่ารู้สึกเจ็บเหมือนโดนมีดปักกลางอก ซึ่งถ้ามีการนำอีโมจิเหล่านี้มาช่วยในการสื่อสาร ก็จะช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นมากกว่าการบรรยายปากเปล่า

โลกทางการแพทย์ต้องการ Emoji ช่วยให้หมอสื่อสารกับคนไข้ได้ง่ายขึ้น


นอกจากนี้ อีโมจิยังมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถพูดได้, ไม่สามารถออกเสียงได้ หรือไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาทางการได้อย่างชาวต่างประเทศ อีโมจิก็จะมีบทบาทในการซักประวัติอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยเหล่านี้ อีกทั้งยังสามารถใช้ในการสื่อสารของแพทย์ที่ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Telehealth)


ปัจจุบันตัวอย่างการใช้อีโมจิทางการแพทย์ที่เห็นได้ชัด คือการใช้หน้ายิ้มในการบรรยายระดับความปวดของผู้ป่วยจาก 0-10 ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ของการติดตามอาการของผู้ป่วยแต่ละวัน หากอาการปวดลดลงเรื่อย ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะสามารถจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก The Verge

ข่าวแนะนำ