Regent เตรียมสร้างเรือไฟฟ้าบินได้ ‘Seaglider’
‘Seaglider’ มาเหนือด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบ 100% แถมยังล้ำสุดด้วยการใช้พลังขับเคลื่อนแบบ ‘Wing In ground effect’
เครื่องบินหลบซ้าย เรือเฟอร์รี่หลบขวา เพราะ “Seaglider” จากบริษัทสตาร์ทอัพ “Regent” ในกรุงบอสตันจะมาเขย่าวงการคมนาคมทางน้ำด้วยยานยนต์แบบใหม่ที่ผสมผสาน “เรือ+เครื่องบิน” เข้าด้วยกัน และสามารถทำความเร็วได้กว่า 180 ไมล์ต่อชั่วโมง แถมยังใช้พลังงานไฟฟ้าแบบ 100% อีกด้วย!
เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสวยงามสำหรับบริษัท “Regent” ที่สามารถกวาดรายได้จากยอดคำสั่งซื้อสำหรับเรือบินได้ “Seaglider” เป็นเงินกว่า 465 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 14,610,765,000 บาท ในการสร้างเรือเฟอร์รี่ไฟฟ้าแบบบินได้ หรือที่เรียกว่ายานพาหนะแบบ GEV (ground-effect vehicle : คือยานพาหนะที่เคลื่อนที่ด้วยหลักการของผลกระทบจากพื้นผิว หรือ Ground Effect ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นพาหนะในการขนส่งทางน้ำที่มีความเร็วสูง) ดังนั้นยานพาหนะประเภทนี้จะไม่สามารถบินนอกระดับ Ground Effect จึงถูกจัดประเภทว่าเป็น “เรือ” ในบางพื้นที่
สิ่งที่ทำให้ “Seaglider” โดดเด่นกว่ายานยนต์แบบที่คล้ายกันนั่นก็คือการพัฒนาให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 100% และไม่มีการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เป็นการขนส่งที่สะอาด ปลอดภัย ราคาถูก ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และยังลดการใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ได้กว่า 2 เท่า นอกจากนี้มันยังสามารถใช้ผิวน้ำเป็นลานบินในการบินขึ้นและลงจอดได้อย่างสะดวกสบายอีกด้วย
โดย Seaglider รุ่นแรกนั้นจะสามารถคำความเร็วได้ที่ 180 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 290 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงอาจจะจำกัดใช้เฉพาะการเดินทางระหว่างพื้นที่ชายฝั่งเท่านั้น และมีขนาดสำหรับรับ-ส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 10 ที่นั่ง
Regent กล่าวว่าขณะนี้บริษัทได้รับคำสั่งซื้อจากสายการบินและบริษัทเรือข้ามฟากต่าง ๆ ที่ต่างก็ตื่นเต้นเพราะ Seaglider นั้นใช้ต้นทุนในการดำเนินงานน้อยกว่าเครื่องบินกว่าครึ่ง ส่วนผู้ให้บริการเรือเฟอร์รี่ก็ตื่นเต้นเพราะว่า Seaglider นั้นสามารถทำความเร็วได้เหนือกว่าถึง 6 เท่า นอกจากนี้พวกเขายังสามารถควบคุมการใช้งานได้จากท่าเทียบเรือที่มีอยู่อีกด้วย เรียกได้ว่าผสมผสานประสบการณ์เดินทางระหว่างเครื่องบิน-เรือ ได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามในตอนนี้ Regent ยังไม่ได้เปิดเผยกำหนดระยะเวลาที่คาดไว้สำหรับการสร้างต้นแบบ, การทดสอบการผลิตหรือการเริ่มให้บริการ ดังนั้นอาจจะต้องอดใจรอกันก่อนอีกนิดกว่าที่เราจะได้เห็นเทคโนโลยีการเดินทางรูปแบบใหม่ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงโลกได้เลยจริง ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67