เทคนิคพิมพ์ 3 มิติใหม่! ใช้สร้างอวัยวะในแล็บได้ดีกว่าเดิม
ต่อไปนี้การเตรียมอวัยวะในแล็บอาจจะใช้เวลาน้อยลง แต่ได้คุณภาพดีขึ้น
ถึงแม้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีการพิมพ์อวัยวะ 3 มิติจะมีความก้าวหน้าแค่ไหน แต่การสร้างอวัยวะเหล่านี้ก็ยังคงเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างช้าและอาจจะกระทบต่อการทำลายเนื้อเยื่อได้
อย่างไรก็ตามในไม่ช้านี้เราจะอาจมีวิธีการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนักวิจัยจาก University at Buffalo ร่วมกับนักวิจัยอื่น ๆ ได้พัฒนาเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติซึ่งเร็วกว่าวิธีมาตรฐาน 10-50 เท่า จากภาพประกอบด้านบนจะเห็นว่ามือสังเคราะห์ขนาดเล็ก ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลาพิมพ์ถึง 6 ชั่วโมงกลับใช้เวลาเพียงแค่ 19 นาทีเท่านั้น ซึ่งเพียงพอที่จะลดการเสียรูปและลดความเสียหายของเซลล์ เมื่อเทียบกับระบบการพิมพ์ก่อนหน้านี้
โดยวิธีใหม่นี้ใช้การผสมผสานระหว่างเครื่องพิมพ์ stereolithography (SLA : เครื่องพิมพ์ที่มีการใช้แสงเลเซอร์ยิงเข้าไปที่ของเหลวประเภท liquid photopolymer (resin) เพื่อเปลี่ยนสถานะของเหลวให้เป็นของแข็ง) กับไฮโดรเจล จากการที่เครื่องพิมพ์สามารถกำหนดแนวทางของการเกิด photopolymerization (การบ่มวัสดุด้วยแสง) ได้อย่างแม่นยำ ทีมพัฒนาจะสามารถเติมไฮโดรเจลเข้าไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดการสร้างวัตถุใหม่แบบไม่หยุดนิ่ง คล้ายกับการที่เราปูถนนใหม่เพียงครู่เดียวก่อนที่จะขับรถต่อไปเรื่อย ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้ตอนนี้ยังจำกัดไว้ที่ "ขนาดเซนติเมตร" แต่ก็เหมาะสำหรับการพิมพ์เซลล์ที่มีโครงข่ายเส้นเลือดในตัวอยู่แล้ว และหากนักวิทยาศาสตร์สามารถปรับขนาดอวัยวะให้เป็นขนาดปกติและเหมาะสมกับการใช้งานจริงได้ ต่อไปนี้โรงพยาบาลก็อาจจะไม่ต้องพึ่งพาผู้บริจาคอวัยวะ และเพิ่มโอกาสในการช่วยชีวิตได้อีกมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67