"ช้อนไฟฟ้าเพิ่มเค็ม" นวัตกรรมใหม่ แค่ใช้ช้อนนี้ไม่ใส่เกลือในอาหารก็เค็มได้
Kirin เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ช้อนไฟฟ้า ที่สามารถทำให้รสชาติอาหารเค็มมากขึ้น โดยไม่ต้องเติมเกลือเพิ่ม
ปัจจุบันปัญหาจากการบริโภคโซเดียม (Sodium) มากเกินไป เป็นสาเหตุที่ได้รับการยอมรับว่าทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดจากความดันโลหิตสูง การบริโภคโซเดียมมากเกินไปนี้ ยังคงเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก และทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 1.89 ล้านคนต่อปี ตามการรายงานของ องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO)
Kirin บริษัทเครื่องดื่มชื่อดังของญี่ปุ่น จึงได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจในงาน CES 2025 นั่นคือนวัตกรรม "ช้อนไฟฟ้า" ที่สามารถทำให้อาหารมีรสชาติเค็มมากขึ้น โดยไม่ต้องเติมเกลือเพิ่ม ซึ่งเป็นนวัตกรรมท่ีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณโซเดียมในการบริโภค และแก้ปัญหาการบริโภคโซเดียมมากเกินไปที่เป็นปัญหาระดับโลกได้อีกด้วย ภายในงาน ช้อนนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีผู้คนจำนวนมากได้ทดลองใช้ช้อนนี้ชิมซุปที่ทางบริษัทเตรียมไว้และบอกว่ามีรสชาติที่เปลี่ยนไปจริง ๆ
บริษัทระบุว่านวัตกรรมช้อนนี้ใช้กระบวนการใส่กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ในอาหารผ่านด้านหลังของด้ามจับ ผ่านแถบโลหะที่ปรากฏที่ด้านบนของช้อน และพร้อมที่จะช็อตลิ้นของผู้ใช้เบาๆ เพื่อกระตุ้นการรับรสชาติเค็ม โดยวิธีการจะเป็นการรวมโมเลกุลของโซเดียมไอออนในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความเค็มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากไอออนโซเดียมที่มารวมตัวกันบนลิ้น นวัตกรรมนี้ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร แม้อาหารที่ทานจะมีรสชาติอ่อนก็ตาม โดยช้อนนี้สามารถปรับความเค็มได้ โดยใช้ปุ่มที่อยู่บนด้ามจับ ที่มีระดับความเค็มอยู่ 4 ระดับ
เทคโนโลยีนี้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ในปี 2023 ในฐานะนวัตกรรมที่แปลกใหม่ และได้วางจำหน่ายในญี่ปุ่นแล้วในปี 2024 ในราคาประมาณ 127 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 4,400 บาท และคาดการณ์ว่าจะจำหน่ายอุปกรณ์นี้ทั่วโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ทางบริษัท Kirin กล่าวว่าได้สร้างช้อนนี้ขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้คนบริโภคเกลือ หรือ โซเดียมน้อยลง ซึ่งปัญหาการบริโภคโซเดียมมากเกินไปนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็นอย่างมากในญี่ปุ่น โดยประชากรผู้ใหญ่ของประเทศบริโภคเกลือมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึงสองเท่า
ช้อนไฟฟ้านี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคโซเดียม และยังเป็นการนำเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำอาหารได้อย่างน่าสนใจอีกด้วย
แหล่งที่มา: Techcrunch.com, World Health Organization (WHO)
ข่าวแนะนำ