TNN รู้จัก Colossus ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เบื้องหลังปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำ xAI ของอีลอน มัสก์

TNN

Tech

รู้จัก Colossus ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เบื้องหลังปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำ xAI ของอีลอน มัสก์

รู้จัก Colossus ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เบื้องหลังปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำ xAI ของอีลอน มัสก์

รู้จัก Colossus ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เบื้องหลังปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำ xAI ของอีลอน มัสก์ ด้วยความร่วมกับบริษัท NVIDIA

โคลอซัส (Colossus) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดยบริษัท เอ็กซ์ เอไอ (xAI) ของมหาเศรษฐีอีลอน มัสก์ ถูกสร้างขึ้นด้วยความร่วมกับบริษัท NVIDIA ปัจจุบันถือเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ การสร้างโคลอซัส (Colossus) ใช้เวลาเพียง 122 วัน โดยเริ่มจากการติดตั้ง GPU NVIDIA Hopper จำนวน 100,000 ตัว ที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี


ในระยะแรกโคลอซัส (Colossus) ใช้จีพียู (GPU) หรือหน่วยประมวลผลกราฟิก จำนวน 100,000 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนที่มหาศาลและทรงพลังอย่างยิ่งสำหรับการประมวลผลแบบขนาน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือการจำลองแบบทางวิทยาศาสตร์ บริษัท บริษัท เอ็กซ์ เอไอ (xAI) มีแผนที่จะเพิ่มจำนวนจีพียู (GPU) เป็น 200,000 ตัว เพื่อรองรับงานที่ซับซ้อนและความต้องการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นในอนาคต


ระบบระบายความร้อน


สำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระบบระบายความร้อนนับว่ามีความสำคัญสูง เพื่อจัดการกับพลังงานความร้อนที่เกิดจากการทำงานของจีพียู (GPU) และซีพียู (CPU) หรือหน่วยประมวลกลางคอมพิวเตอร์ในระดับสูง โคลอซัส (Colossus)ใช้ระบบ Liquid Cooling ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการลดอุณหภูมิ ระบบนี้ช่วยป้องกันความร้อนเกินขีดจำกัด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการประมวลผลในระดับใหญ่ และยังช่วยเพิ่มความเสถียรและอายุการใช้งานของฮาร์ดแวร์


เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย Spectrum-X


โคลอซัส (Colossus) เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอีเทอร์เน็ต Spectrum-X ของบริษัท อินวิเดีย (NVIDIA) ซึ่งเป็นเครือข่ายความเร็วสูง เครือข่ายนี้สามารถรองรับการส่งข้อมูลได้สูงถึง 800 GB/s ต่อวินาที ซึ่งเป็นอัตราที่ช่วยให้การประมวลผลข้อมูลและการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์มีความราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดปัญหาคอขวดของการส่งข้อมูลในโครงสร้างขนาดใหญ่


ความพิเศษของเครือข่ายอีเทอร์เน็ต Spectrum-X อยู่ตรงที่สามารถลดความหน่วงของแอปพลิเคชันให้เป็นศูนย์ และขจัดการสูญเสียแพ็กเก็ตอันเนื่องมาจากการชนกันของข้อมูลหากใช้งานเครือข่ายอีเทอร์เน็ตปกติทั่วไป โดยรักษาอัตราข้อมูลที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 95 เปอร์เซ็นต์ผ่านระบบ "การควบคุมความแออัด" 


อาจกล่าวได้ว่าเครือข่ายอีเทอร์เน็ต Spectrum-X นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตแบบธรรมดาทั่วไป แต่แกนหลักของแพลตฟอร์ม คือ สวิตช์อีเทอร์เน็ต Spectrum SN5600 ซึ่งบริษัท อินวิเดีย (NVIDIA) อ้างว่าสามารถรองรับการรับส่งข้อมูลได้ถึง 800 Gbps ต่อพอร์ตเดียว สวิตช์นี้สร้างขึ้นบน ASIC หรือวงจรรวมที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะเจาะจงสำหรับการทำงานประมวลผลแบบกำหนดเองของ Spectrum-4 ซึ่งบริษัท เอ็กซ์ เอไอ (xAI) ได้จับคู่กับ Nvidia BlueField-3 SuperNIC เพื่อเร่งความเร็วการสื่อสารระหว่างจีพียู (GPU) หรือหน่วยประมวลผลกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เป้าหมายการใช้งานโคลอซัส (Colossus)


โคลอซัส (Colossus) ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับงานที่มีความซับซ้อนและต้องการพลังการประมวลผลสูง เช่น การเทรนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ในตระกูลกร็อก (Grok) ของบริษัท บริษัท เอ็กซ์ เอไอ (xAI) เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ หรือการวิจัยทางชีววิทยา 


รวมไปถึงการนำปัญญาประดิษฐ์และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานอื่น ๆ ให้กับบริษัทเครือของอีลอน มัสก์ เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเทสลา (Tesla) ที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ บริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทด้านเทคโนโลยีการขนส่งอวกาศ เป็นต้น


ที่มาของข้อมูล blink-drive, Techspot

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง