ครีมทาผิว “กันบาดทะยัก” ทดสอบกับหนูสำเร็จแล้ว !!
นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดคิดค้นครีมทาผิวกันบาดทะยัก ทดสอบกับหนูได้สำเร็จแล้ว
นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, สหรัฐอเมริกา คิดค้น “ครีมทาผิวกันบาดทะยัก” ทดสอบในหนู ผลลัพท์ดีกว่าที่คาดคิด
โดยการวิจัยและพัฒนานี้ เริ่มต้นจากที่ทางนักวิจัยพบว่าแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis แบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวของมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นไม่เป็นอันตราย และยังพบว่าสามารถที่จะจะกระตุ้นแบคทีเรียเหล่านี้ ให้เกิดการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้ซึ่งจะป็นการป้องกันล่วงหน้าต่อเชื้อจุลินทรีย์ที่จะเข้าสู่กระแสเลือดผ่านรอยแผล หรือรอยขีดข่วนในชีวิตประจำวัน พวกเขาน่าคิดว่าจะนำพวกมันมาใช้ป้องกันแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการ “บาดทะยัก” ได้
ต่อมาทางนักวิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ “แอนติบอดี” โปรตีนภูมิคุ้มกันที่อยู่ในเลือดของมนุษย์ แล้วพบว่าระดับการไหลเวียนของแอนติบอดีในเลือดนั้นสูงพอ ๆ กับสารที่ได้รับจากวัคซีนเป็นประจำ ทางทีมนักวิจัยจึงมองว่าการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแอนติบอดี น่าจะเป็นแนวทางการป้องกันโรคบาททะยักได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนในปัจจุบัน
เริ่มแรก ทางทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองโดยการทาวัคซีนลงบนศีรษะของหนู ซึ่งปกติเป็นสัตว์ที่ไม่มีแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis อยู่บนผิวหนัง พบว่าระดับแอนติบอดีสำหรับป้องกันแบคทีเรียต่าง ๆ ในหนูเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์ จนอยู่ในระดับที่สูงกว่าวัคซีนทั่วไป
ต่อมาทางทีมนักวิจัยพบว่า โปรตีนที่เรียกว่า Aap บนพื้นผิวของแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis สามารถกระตุ้นการผลิตแอนติบอดีได้ ทางทีมจึงได้นำมันมาปรับแต่งเพื่อสร้างแอนติบอดีสำหรับจัดการพิษของโรคบาดทะยักโดยเฉพาะ
จากนั้นทางทีมจึงได้ทดลองกับหนูอีกครั้ง โดยทำการให้ Staphylococcus epidermidis ที่ถูกปรับแต่ง ให้ป้องกันการบาดทะยักกับหนูต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ ด้วยการทาลงบนผิวหนัง ผลปรากฎว่า หนูตัวดังกล่าวมีแอนติบอดี ที่มุ่งเป้าไปยังเชื้อบาดทะยักในระดับที่สูงมากกว่า เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับ Staphylococcus epidermidis แบบปกติ
ในท้ายที่สุด ทางทีมนักวิจัยได้ทำการฉีดเชื้อบาดทะยัก ในปริมาณที่เป็นอันตรายถึงชีวิตให้หนูทั้งหมด พบว่าหนูที่ได้รับ Staphylococcus epidermidis ปรับแต่ง สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยไม่มีอาการใด ๆ แม้จะได้รับบาดทะยักในปริมาณที่ถึงตายมากถึง 6 เท่าแล้วก็ตาม ในขณะที่หนูซึ่งได้รับ Staphylococcus epidermidis ทั่วไปนั้นไม่สามารถทนต่อโรคได้
การวิจัยนี้ยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น โดยขั้นตอนต่อไปของการวิจัย คือการทดลองในลิง และถ้าหากการทดลองเป็นไปได้ด้วยดี การทดลองกับมนุษย์จะเริ่มขึ้นในอีก 2 - 3 ปีต่อมา
การวิจัยนี้ยังพบอีกว่า กลไกการรักษาดังกล่าวยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิตเซลล์เดียว รวมถึงยังเป็นหนทางที่ทำให้มนุษย์ไม่จำเป็นต้องรับวัคฉีดวัคซีนผ่านเข็ม ซึ่งจะมีส่วนผสมของสารลดการอักเสบ ทำให้ผู้รับวัคซีนรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยได้
งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature สามารถเข้าไปอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้จากลิงก์นี้ >> nature.com/
ข่าวแนะนำ