ป่วยเพราะ PM 2.5 ฟ้องรัฐบาลได้ กฏใหม่ EU กระตุ้นชาติสมาชิกลดการปล่อยมลพิษให้ทันปี 2030
อียู (EU) ประกาศกฏใหม่ในการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมลดการปล่อยมลพิษ ด้วยการให้พลเมืองในชาติสมาชิกฟ้องรัฐได้จากอาการป่วยที่มาจากมลพิษ หากยังไม่บรรลุเป้าหมายในปี 2030
“เป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษในปี 2030” เป็นคำที่ดูมีความหวังในการช่วยสิ่งแวดล้อมของโลก แต่ความคืบหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ในชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) นั้นกลับดูห่างไกล ด้วยเหตุนี้ EU จึงได้ประกาศกฏหมายใหม่ว่าในปี 2030 ให้ประชาชนพลเมืองในชาติสมาชิกฟ้องรัฐได้ หากเจ็บป่วยจากมลภาวะทางอากาศที่เป็นผลจากความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายของชาติสมาชิก
รายละเอียดกฏระเบียบใหม่ EU กับ PM 2.5
EU ได้ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษในปี 2030 สำหรับอนุภาคขนาด 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เหลือ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) จากเดิม 25 µg/m3 และให้เหลือแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) 20 µg/m3 หรือครึ่งหนึ่งของปัจจุบัน รวมถึง แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่ตั้งเป้าลดให้เหลือ 20 µg/m3 เช่นกัน
ในขณะที่กฏระเบียบใหม่ระบุว่า พลเมืองและผู้อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษ ก็มีสิทธิได้รับค่าเสียและและค่าเยียวยาจากหน่วยงานของรัฐที่เป็นชาติสมาชิกของ EU ได้เช่นกัน รวมถึง EU ยังมีอำนาจในการสั่งปรับชาติสมาชิกที่ไม่ยอมรับกฏนี้อีกนับล้านยูโร หรือไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท หลังจากปี 2030 หากชาติสมาชิกยังไม่บรรลุป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนร่วมกันตามค่ากำหนดที่ระบุเอาไว้
กฏใหม่ EU กระตุ้นรักสิ่งแวดล้อม
โดยเป้าหมายของกฏระเบียบข้อใหม่คือการกระตุ้นให้เทคโนโลยีที่ลดการปล่อยมลพิษเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ซึ่งการอัปเดตดังกล่าวเป็นการปรับปรุงที่อาจจะมาจากคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก เพราะในแต่ละปีองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตจากมลพิษมากกว่าปีละ 300,000 คน ในนั้นเป็นคนสเปนกว่า 21,000 คน ที่เชื่อว่าอาจจะเสียชีวิตจากฝุ่นละอองด้วย
ทั้งนี้ การบังคับใช้จะเกิดขึ้นหลังปี 2030 การฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหายจึงยังไม่เกิดขึ้น ซึ่ง EU เชื่อว่า มาตรการการลดการปล่อยมลพิษต่าง ๆ รวมถึงการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน (BEV) ให้เกิดขึ้นในปี 2050 จะทำให้มาตรการลดมลพิษในปี 2030 ได้รับอานสิงค์ตามไปด้วยนั่นเอง
ข้อมูล Electrek
ภาพ Pexels
ข่าวแนะนำ