TNN บล็อกแก้วเลขแปดจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ต่อกันแบบเลโก้ ทนทาน ใช้งานง่าย แปรรูปซ้ำได้ด้วย

TNN

Tech

บล็อกแก้วเลขแปดจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ต่อกันแบบเลโก้ ทนทาน ใช้งานง่าย แปรรูปซ้ำได้ด้วย

บล็อกแก้วเลขแปดจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ต่อกันแบบเลโก้ ทนทาน ใช้งานง่าย แปรรูปซ้ำได้ด้วย

นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สร้างต้นแบบบล็อกแก้วทรงเลขแปดอารบิกจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ชูจุดเด่นว่าแข็งแรง ทนทาน ใช้งานง่าย และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้พัฒนาบล็อกแก้วที่ขึ้นรูปจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นรูปเลขแปด (8) ที่สามารถนำมาต่อกันได้แบบเดียวกับตัวต่อเลโก้ (LEGO) โดยไม่ต้องใช้ปูนฉาบเชื่อม ทำให้สามารถก่อเป็นโครงสร้างที่ต้องการได้ง่าย คงรูปแข็งแรง และยังสามารถนำกลับไปหลอมละลาย เพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้อีกด้วย


ข้อมูลบล็อกแก้วแบบใหม่จากอเมริกา

บล็อกแก้วดังกล่าวพัฒนาโดย อีเวนไลน์ (Evenline) บริษัทสตาร์ตอัปใต้การสนับสนุนของ MIT ตัวบล็อกแก้วขึ้นรูปจากแก้วรีไซเคิลเป็นรูปเลขแปดแบบอารบิก เมื่อมองจากด้านบน เนื่องจากต้องการให้บล็อกแก้วสามารถยึดตัวได้โดยไม่ต้องมีปูนเชื่อม แต่ยังคงความสวยงามเป็นแนวกำแพงคลื่นเวลาเรียงตัวต่อกัน ตัวบล็อกแก้วเลขแปดมีความยาวและความกว้างฝั่งละ 32.5 เซนติเมตร และสูง 38 เซนติเมตร 


โดยหัวใจของบล็อกแก้วดังกล่าวคือกรรมวิธีการขึ้นรูปและลักษณะของบล็อก เริ่มจากการขึ้นรูปด้วย กลาส ตรีดี ปรินเตอร์ ทรี (Glass 3D Printer 3: G3DP3) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่บริษัทพัฒนาให้เป็นเตาหลอมภายในตัว เพื่อให้เศษแก้วรีไซเคิลหลอมละลาย ก่อนจะพ่นผ่านหัวฉีดในระบบ เพื่อให้วางตัวเป็นรูปแบบเลข 8 เป็นชั้น ๆ จนได้ความสูงตามที่ออกแบบไว้ 


ในขณะที่ลักษณะของบล็อกแก้ว จะมีการออกแบบให้มีร่องเซาะตามแนวสัน และด้านบนมีการเซาะร่อง และช่องว่าง เพื่อให้เมื่อนำแต่ละบล็อกมาวางเหลื่อมกันแล้ว จะเข้าร่องพอดี คล้ายกับการต่อตัวต่อเลโก้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนฉาบเพื่อยึดติดแบบบล็อกแก้วในอดีตอีกต่อไป


เป้าหมายการสร้างบล็อกแก้วแบบใหม่จากอเมริกา

ข้อดีดังกล่าว ยังกล่าวยังส่งผลให้บล็อกแก้ว มีการเจือปนหรือติดวัสดุอื่น ๆ มาน้อย เนื่องจากไม่ต้องคอยใช้ปูนฉาบตัวบล็อกอีกต่อไป  ส่งผลให้สามารถส่งกลับไปรีไซเคิลเพื่อขึ้นรูปใหม่อีกครั้งได้ง่ายขึ้น โดย Evenline ตั้งเป้าให้บล็อกแก้วเลขแปดของบริษัทถูกใช้ในการตกแต่งภายในเป็นหลัก เช่น กำแพง หรือการจัดเรียงเพื่อความสวยงาม 


เป้าหมายหลักของงานวิจัยดังกล่าว คือการสาธิตความสามารถในการก่อสร้างที่ยั่งยืน (Circular construction) รวมถึงเสนอทางเลือกในการสร้างบล็อกแก้วแบบใหม่ด้วย และงานดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ กลาส สตรักเชอร์ส แอนด์ เอ็นจิเนียริง (Glass Structures & Engineering) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว



ข้อมูลและภาพจาก MIT News

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง