รู้จักโครงการทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เพื่อศึกษาสุขภาพจิตในอวกาศ
รู้จักโครงการทดลองต่าง ๆ บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เพื่อศึกษาสุขภาพจิตในอวกาศ รองรับการเดินทางไปยังดาวอังคารหรืออยู่อาศัยในอวกาศในระยะยาว
สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เป็นห้องทดลองลอยฟ้าขนาดใหญ่ที่นักบินอวกาศใช้ทำการทดลองต่าง ๆ เป็นระยะเวลานานหลายเดือน รวมไปถึงการทดลองเกี่ยวกับสุขภาพจิตและร่างกายในสภาพแวดล้อมอวกาศ การอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นระยะเวลานานส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ซึ่งการทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์มีแผนจะเดินทางไปยังดาวอังคารหรืออยู่อาศัยในอวกาศระยะยาว
โครงการ Circadian Light
การทดสอบระบบแสงรูปแบบใหม่บนสถานีอวกาศนานาชาติเกิดขึ้นในช่วงปี 2016 เป้าหมายเพื่อศึกษารูปแบบแสงช่วยให้นักบินอวกาศรักษาจังหวะเวลาของนาฬิกาชีวิตในร่างกายประจำวัน หรือจังหวะชีวภาพได้ปกติมากขึ้นได้อย่างไร โดยใช้หลอดไฟสร้างแสงเลียนแบบแสงในสภาพธรรมชาติบนโลก ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า การทดสอบในโครงการนี้อาจสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของนักบินอวกาศ เช่น การนอนหลับและการลดความเครียด
โครงการ NeuroMapping
การศึกษาโครงสร้างของสมองมนุษย์บนอวกาศเกิดขึ้นในช่วงปี 2014 โดยเป็นการทดสอบว่าสมองมนุษย์ทำงานหลายอย่างพร้อมกันบนอวกาศอย่างไร และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับการทำงานของสมองเมื่อนักบินอวกาศเดินทางกลับมายังโลก โดยผลการศึกษาบางส่วนพบว่าไม่มีผลกระทบต่อระบบความจำของมนุษย์ แต่มีผลต่อปริมาตรของสมองที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของภารกิจบนอวกาศ
โครงการ VR Mental Care
การวิจัยของสำนักงานอวกาศยุโรป (ESA) เกิดขึ้นในช่วงปี 2021 โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงผ่านแว่นตา VR สำหรับนักบินอวกาศเพื่อจำลองสถานการณ์การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น การเลียนแบบสภาพแวดล้อม 360 องศา บนโลกประกอบด้วยวิดีโอและเสียง หลังจากนั้นให้นักบินอวกาศตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินว่านักบินอวกาศมีความรู้สึกอย่างไร รวมไปถึงทำการประเมินปัญหาทางจิตวิทยา ความเครียด ความวิตกกังวล และความรู้สึกสะเทือนขวัญบนโลก อย่างไรก็ตาม นักบินอวกาศขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการศึกษาเปิดเผยว่าเขารู้สึกสนุกมากกับการใช้แว่นตา VR เพื่อการออกกำลังกายบนจักรยานแบบอยู่กับที่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
ที่มาของข้อมูล Space
ข่าวแนะนำ