TNN FDA อนุมัติเครื่องแปะลิ้นลด “หูอื้อ” ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าผ่านลิ้น

TNN

Tech

FDA อนุมัติเครื่องแปะลิ้นลด “หูอื้อ” ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าผ่านลิ้น

FDA อนุมัติเครื่องแปะลิ้นลด “หูอื้อ” ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าผ่านลิ้น

FDA อนุมัติอุปกรณ์ชื่อ Lenire ที่ระบุว่าสามารถช่วยลดอาการหูอื้อ หรือโรคได้ยินเสียงรบกวนในหู (tinnitus) ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าที่ลิ้น เพื่อฝึกสมองของมนุษย์ให้เพิกเฉยต่อเสียงวิ้งในหู

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติการใช้งานอุปกรณ์  “เครื่องแปะลิ้น” ที่เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการหูอื้อ หรือโรคได้ยินเสียงรบกวนในหู โดยผสมผสานการกระตุ้นด้วยเสียง เข้ากับการกระตุ้นไฟฟ้าที่ลิ้น เพื่อฝึกสมองให้เพิกเฉยต่อเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นภายในหู 


FDA อนุมัติเครื่องแปะลิ้นลด “หูอื้อ” ด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าผ่านลิ้น ภาพจาก Lenire

สำหรับอาการ หูอื้อ (Tinnitus) คือความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนในหูอยู่ตลอดเวลา เช่นบางคนอาจจะได้ยินเหมือนเสียงวี้ด คล้ายเสียงกาต้มน้ำเวลาเดือด หรือเสียงวิ้ง ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย 


เพื่อแก้ปัญหานี้ บริษัท นิวโรม็อดส์ ดิไวซ์ (Neuromod Devices) จากไอร์แลนด์ จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า เลน-เอียร์ (Lenire) มีลักษณะเป็นชุดหูฟังและแป้นแปะลิ้น โดยผู้ป่วยจะต้องวางแป้นนี้ไว้บนลิ้น หลังจากนั้นตัวเครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ไปยังแป้นที่วางอยู่บนลิ้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ  


กระบวนการนี้เรียกว่า ไบโมดัล นิวโรโมดูเลชัน (Bimodal neuromodulation) ซึ่งเป็นการใช้การกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าสองแบบ ได้แก่ ระดับเสียงสูงและต่ำที่เล่นผ่านหูฟัง พร้อมกับการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าอ่อน ๆ จากแป้นแปะลิ้น กระบวนการนี้จึงเป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้า “เพื่อรบกวน” กระแสประสาทของหูชั้นใน สมองก็จะเลิกสนใจเสียงหูอื้อเหล่านั้นไปนั่นเอง


โดยบริษัทกล่าวว่าอุปกรณ์นี้ ถึงแม้จะไม่ใช่อุปกรณ์รักษาหูอื้อโดยตรง แต่เขาคิดว่ามันเป็น "ก้าวสำคัญ" ในการรักษาอาการดังกล่าว ซึ่งจากการทดสอบการใช้งานกับกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 326 ราย ปรากฏว่าหลังการใช้งานผู้ป่วยร้อยละ 86 มีอาการหูอื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีจำนวนมากถึงร้อยละ 66 ที่อาการหูอื้อลดลงได้นานถึง 12 เดือน


การศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “Nature – Scientific Reports” ซึ่งถึงแม้ว่าอุปกรณ์เครื่องแปะลิ้นตัวนี้ จะไม่สามารถรักษาอาการหูอื้อจนหายขาดได้ แต่ก็ทำให้เสียงรบกวนน้อยลงมาก ช่วยลดความรำคาญ และทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น


ข้อมูลจาก reutersconnectchula.ac.thtnnthailand

ข่าวแนะนำ