TNN ผลการศึกษาใหม่ฉายแสงลดผลกระทบจากความเครียดเรื้อรังต่อลำไส้และสมอง

TNN

Tech

ผลการศึกษาใหม่ฉายแสงลดผลกระทบจากความเครียดเรื้อรังต่อลำไส้และสมอง

ผลการศึกษาใหม่ฉายแสงลดผลกระทบจากความเครียดเรื้อรังต่อลำไส้และสมอง

ผลการศึกษาใหม่ฉายแสงลดผลกระทบจากความเครียดเรื้อรังต่อลำไส้และสมอง อุปกรณ์มีลักษณะคล้ายหมวกกันน็อคแบบแยกส่วน และแผงบริเวณหน้าท้อง

รูปแบบใหม่ในการรักษาโรคเครียดเรื้อรังกำลังได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา (UB) ประเทศสเปน ผลการศึกษาใหม่นี้ใช้วิธีฉายแสงที่มีความเข้มต่ำไปที่ศีรษะและท้อง เพื่อลดผลกระทบจากความเคลียดที่มีต่อไมโครไบโอมในลำไส้และสมองของมนุษย์


วิธีการรักษาใหม่นี้แตกต่างจากวิธีการเดิมที่รักษาโดยใช้การปรึกษาแพทย์ร่วมกับการรับประทานยาลดความเครียด ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงตามมา เช่น อาการคอแห้ง ท้องผูก ปวดหัว คอแห้ง และสูญเสียการทรงตัว


การฉายแสงใช้เทคนิคที่เรียกว่า Photobiomodulation (PBM) ใช้แสงความเข้มต่ำจากเลเซอร์หรือ LED ซึ่งเป็นเทคนิคที่เคยถูกใช้เพื่อรักษาอาการทางการแพทย์อื่น ๆ มาแล้ว เช่น โรคหัวใจและบาดแผล เครื่องมือฉายแสงถูกเรียกว่า REGEnLIFE พัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีการแพทย์จากประเทศฝรั่งเศส มีลักษณะคล้ายหมวกกันน็อคแบบแยกส่วน และแผงบริเวณหน้าท้อง  


สาเหตุที่ทีมนักวิจัยใช้การฉายแสงบริเวณศีรษะและท้อง เนื่องจากลำไส้และสมองมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน โดยการสื่อสารโดยตรงระหว่างอวัยวะทั้งสอง นอกจากนี้ยังอวัยวะทั้งสองยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ออทิศติก และโรคพาร์กินสัน 


ส่วนไมโครไบโอม หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ พบในลำไส้ของมนุษย์มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับอาหาร การออกกำลังกาย และสุขภาพของสมอง รวมไปถึงความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าของทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเบย์เครสท์ (Baycrest) ผู้นำด้านการวิจัยและดูแลสุขภาพผู้สูงวัยระดับโลกในประเทศแคนาดา


การวิจัยใช้วิธีทดลองกับหนูตัวผู้ โดยแบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม หนูกลุ่มแรกถูกนำมาฉายแสงที่มีความเข้มต่ำ และเปรียบเทียบกับหนูทดลองที่ไม่ได้ฉายแสงเลย โดยหนูทั้ง 2 กลุ่มถูกทำให้เครียดตลอดระยะเวลา 28 วันในการทดลอง พบว่าหนูที่ได้รับการฉายแสงสามารถลดความเสียหายในระดับเซลล์ อาการอักเสบของสมอง เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับการฉายแสง


นักวิจัยจึงสรุปผลการทดสอบว่า การฉายแสงโดยใช้เทคโนโลยี Photobiomodulation (PBM) อาจมีผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความเครียดในสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย 


ที่มาของข้อมูล Newatlas, MQDC, HDMall

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ