เบลเยียมเดินหน้าสร้าง “เกาะเทียมผลิตพลังงาน”
เบลเยียมเดินหน้าสร้าง “เกาะเทียมผลิตพลังงาน” ในชื่อ The Princess Elisabeth Island เพื่อใช้เป็นเกาะสำหรับรวบรวมพลังงานที่ผลิตได้จากชายฝั่ง ส่งไปยังประเทศประเทศต่าง ๆ ได้ในอนาคต
เบลเยียมเดินหน้าสร้างเกาะเทียมผลิตพลังงาน หรือ Artificial energy island บริเวณนอกชายฝั่งของเบลเยียม โดยเมื่อสร้างเสร็จเกาะเทียมแห่งนี้จะทำหน้าที่สนับสนุนระบบผลิตพลังงานทดแทนนอกชายฝั่งในทะเลเหนือ โดยเป็นศูนย์รวมและจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตโดยฟาร์มกังหันลมในพื้นที่โดยรอบ ส่งไปยังแผ่นดินใหญ่ของเบลเยียม และโครงข่ายของประเทศเพื่อนบ้าน
เกาะแห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงข่ายไฟฟ้าทางทะเล ผลิตไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบของไฟฟ้ากระแสตรง (HVDC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (HVAC) และส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังพื้นที่ผลิตพลังงานทดแทนและแผ่นดินใหญ่
นอกจากนี้ ตัวเกาะยังทำหน้าที่เป็นต้นแบบของศูนย์กลางในการเชื่อมโยงโครงข่าย ระหว่างสหราชอาณาจักรและเดนมาร์ก สำหรับการบูรณาการเครือข่ายในอนาคต เช่นการจัดการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างประเทศ และการเชื่อมต่อกับฟาร์มกังหันลมแห่งใหม่ ในบริเวณทะเลเหนือ
โครงการนี้ ดำเนินการโดยบริษัท เอเลีย (elia) ผู้ดำเนินการระบบส่งไฟฟ้าจากเบลเยียม โดยปัจจุบันบริษัทกำลังดำเนินการก่อสร้าง เคซอน (caissons) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้ในงานก่อสร้างใต้น้ำ โดยตั้งเป้าสร้างทั้งสิ้น 20,000 ต้น แต่ละต้นทำจากคอนกรีต ยาว 57 เมตร กว้าง 30 เมตร และมีน้ำหนัก 22,000 ตัน และแต่ละต้น จะใช้เวลาสร้างนานถึง 3 เดือน ซึ่งถ้าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จภายในปี 2026 หลังจากนี้ ก็จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า และคาดว่าจะพร้อมเปิดใช้งานจริง เชื่อมต่อกับฟาร์มกังหันลมและแผ่นดินใหญ่อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2030
ข้อมูลจาก interestingengineering, electrek, elia, offshorewind
ข่าวแนะนำ