Meta เปิดตัว Meta AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะมาท้าชนกับ ChatGPT !
เมตา (Meta) เปิดตัวระบบเจเนอเรทีฟ เอไอ (Generative AI) ตัวใหม่ล่าสุดภายใต้แบรนด์ว่า Meta AI ที่เปิดให้ผู้ใช้ระบบ Meta ในบางพื้นที่ใช้ฟรีแล้ว
เจเนอเรทีฟ เอไอ (Generative AI) กลายเป็นบริการที่ถูกนำเสนอจากเหล่าผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลก เช่น ChatGPT ของ OpenAI, Copilot ของ Microsoft Germini จากฝั่งของ Google และเมตา (Meta) บริษัทผู้ให้บริการ Facebook, Instagram และ Whatsapp ก็ร่วมขบวนนี้ด้วยการเปิดตัว Meta AI เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ข้อมูล Meta AI
Meta AI พัฒนาบนพื้นฐานแบบจำลองภาษา (Large Language Model: LLM) ที่ทันสมัยที่สุดของบริษัทอย่างลามาทรี (Llama 3) เพื่อนำเสนอบริการการป้อนคำสั่ง (Prompt) เพื่อค้นหาหรือสรุปข้อมูล ถามคำถามต่าง ๆ รวมถึงสร้างทั้งภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวเพื่อนำไปใช้งานได้โดยมีให้บริการทั้งส่วนเว็บไซต์แยก แอปพลิชันมือถือ และคอมพิวเตอร์
โดยการเปิดตัวในครั้งนี้เป็นการเปิดตัวล่วงน้า (Early version) ในช่วงกลางดึกของวันที่ 18 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย และเปิดให้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา กานา จาไมกา มาลาวี นิวซีแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ อูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้งานภาษาอังกฤษเป็นหลักโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
เป้าหมายการพัฒนา Meta AI
จุดเด่นที่สำคัญของ Meta AI คือการเข้าถึงที่ง่ายและผสานในทุกบริการของ Meta ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, WhatsApp และรวมไปถึงบริการส่งข้อความอย่าง Messenger ด้วย ที่ผู้ใช้สามารถเลือกเริ่มการทำงานของ Meta AI ได้ตลอดเวลา ผ่านอุปกรณ์ทั้งในคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน ซึ่งถ้าในอนาคตสามารถให้บริการได้ทั่วโลก ก็จะสามารถเข้าถึงผู้ใช้มากกว่า 3,000 ล้านคนได้ด้วย
และแม้รอยเตอร์ส (Reuters) จะรายงานว่าการปิดตัวในครั้งนี้เป็นการประชันกับ ChatGPT และ OpenAI แต่ Llama 3 ที่เป็นหัวใจหลักของ AI ซึ่งได้รับการพัฒนาให้ฉลาดยิ่งขึ้น นั้นเปิดให้เข้าถึงแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (Open Source) ซึ่งแปลว่าใครก็สามารถใช้งานได้
โดยบริษัทที่ Meta กล่าวอ้างว่าจะนำ Llama 3 ไปใช้งานกับผลิตภัณฑ์ของตน มีทั้งบริษัทด้านคลาวด์ (Cloud computing) อย่าง AWS และ Google Cloud ตลอดจน IBM, Microsoft, NVIDIA, Kaggle เป็นต้น ซึ่งทางบริษัท มองบริการ Meta AI ของตนเองนั้นไม่ได้เข้ามาแทนที่มนุษย์ แต่เข้ามาเสริมประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยส่วนตัว
ภาพจาก Reuters
ข่าวแนะนำ