TNN 156.3 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที SCARF กล้องถ่ายรูปเร็วที่สุดในโลก

TNN

Tech

156.3 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที SCARF กล้องถ่ายรูปเร็วที่สุดในโลก

156.3 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที  SCARF กล้องถ่ายรูปเร็วที่สุดในโลก

วิศวกรของศูนย์วิจัยการสื่อสารโทรคมนาคม INRS Énergie Matériaux Télécommunications Research Centre ในประเทศแคนาดา ประสบความสำเร็จ สร้าง กล้องถ่ายรูปเร็วที่สุดในโลก สามารถจับภาพได้เร็ว 156.3 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที

156.3 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที  SCARF กล้องถ่ายรูปเร็วที่สุดในโลก


ย้อนกลับไปช่วงปี 2014 วิศวกรของศูนย์วิจัยการสื่อสารโทรคมนาคม INRS Énergie Matériaux Télécommunications Research Centre ในประเทศแคนาดา ได้ทำการพัฒนา Compressed Ultrafast Photography หรือ CUP เทคโนโลยีการถ่ายภาพความเร็วสูงแบบบีบอัดออกมาได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เราสามารถจับภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก ๆ ด้วยความเร็วระดับ 1 แสนล้านเฟรมต่อวินาทีได้


ต่อมาในปี 2018 มันถูกพัฒนาไปเป็น T-CUP โดย T ย่อมาจากคำว่า Trillion-frame-per-second หรือ ล้านล้านเฟรมต่อวินาที ซึ่งT-CUP สามารถจับภาพด้วยความเร็ว 10 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที และอีกครั้งในปี 2020 ทางทีมงานยังได้อัปเกรดมันไปสู่ CUSP หรือ Compressed Ultrafast Spectral Photography หรือเทคโนโลยีการถ่ายภาพสเปกตรัมความเร็วสูงแบบบีบอัด สามารถจับภาพด้วยความเร็ว 70 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที 


ล่าสุดในช่วงกุมภาพันธุ์ปีนี้เอง (2024) ทางทีมนักพัฒนาก็ได้อัปเกรดเทคโนโลยีนี้ต่อไปเป็น SCARF หรือ Swept-Coded Aperture Real-time Femtophotography เทคโนโลยีการถ่ายภาพความเร็วสูงแบบเรียลไทม์ด้วยรูรับแสงแบบ Swept-Coded สามารถจับภาพได้ด้วยความเร็ว 156.3 ล้านล้านเฟรมต่อวินาที สามารถถ่ายภาพคลื่นกระแทก ที่เคลื่อนที่ผ่านสสารหรือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ และตอนนี้มันถือเป็นกล้องถ่ายรูป ที่สามารถถ่ายภาพได้เร็วที่สุดในโลก


SCARF เป็นเทคโนโลยีที่เอาเทคนิคการถ่ายภาพความเร็วสูงโดยใช้รูรับแสงแบบ Swept-Coded มาผสมรวมกับเทคโนโลยีเลเซอร์ Femtosecond ซึ่งเป็นเลเซอร์ชนิดที่ปล่อยแสงออกมาด้วยความเร็วสูง มักใช้ในการผ่าตัดเลสิก ที่ทำให้สายตาผิดปกติในปัจจุบัน


เลเซอร์ของ Femtosecond จะทำการยิงไปยังรูรับแสง Swept-Coded เพื่อทะลุไปยังวัตถุที่เราต้องการจะเก็บภาพ แสงที่สะท้อนกลับมาจากวัตถุจะถูกบันทึกโดยเซ็นเซอร์ของกล้อง CCD (Charge Coupled Device) และสร้างออกมาเป็นภาพหนึ่งภาพในที่สุด


ความสามารถของเทคโนโลยี SCARF ในตอนนี้ คือสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ของวัตถุที่มีความละเอียดสูง และความคมชัดสูงออกมาได้ มันสามารถถ่ายภาพอิเล็กตรอน หรือ ปฏิกิริยาทางเคมีที่รวดเร็วได้ รวมไปถึงการจับภาพการเคลื่อนที่ของโปรตีนภายในเซลล์ ก็สามารถทำได้เช่นกัน


ผลงานการพัฒนานี้ได้รับการตีพิมม์ลงในวารสารของ Nature Communications ใครสนใจสามารถเข้าไปอ่านเรื่องราวอย่างละเอียดจากที่นี่ได้เลยค่ะ >> https://www.nature.com/articles/s41467-024-45820-z

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ