TNN จีนเตรียมทดสอบจรวดใช้งานซ้ำได้ โดยใช้สายเคเบิลช่วยการลงจอดบนเรือโดรนกลางทะเล

TNN

Tech

จีนเตรียมทดสอบจรวดใช้งานซ้ำได้ โดยใช้สายเคเบิลช่วยการลงจอดบนเรือโดรนกลางทะเล

จีนเตรียมทดสอบจรวดใช้งานซ้ำได้ โดยใช้สายเคเบิลช่วยการลงจอดบนเรือโดรนกลางทะเล

จีนเตรียมทดสอบจรวดใช้งานซ้ำได้โดยใช้สายเคเบิลช่วยการลงจอดบนเรือโดรนกลางทะเล ในระหว่างปี 2025-2026 ก้าวสำคัญในโครงการส่งดาวเทียมและสำรวจดวงจันทร์

บริษัท เทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งประเทศจีน หรือ CASC ผู้พัฒนาจรวดขนส่งอวกาศลองมาร์ช (Long March) จรวดขนส่งอวกาศรุ่นหลัก ๆ ที่ใช้ในโครงการอวกาศจีนเตรียมทดสอบจรวดขนส่งอวกาศรุ่นใหม่ลองมาร์ช 10 (Long March 10) สามารถใช้งานซ้ำได้โดยการเดินทางกลับมายังโลก และลงจอดบนเรือโดรนไร้คนขับกลางทะเล คาดว่าการทดสอบจะมีขึ้นในช่วงปี 2025-2026

ปัจจุบันจรวดขนส่งอวกาศที่สามารถเดินทางกลับโลกเพื่อใช้งานซ้ำกลายเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุนการขนส่งอวกาศลงไปได้หลายเท่าตัว โดยมีจรวด Falcon 9 พัฒนาโดยบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีดังกล่าว จรวด Falcon 9 สามารถรองรับการภารกิจได้หลายครั้ง ทั้งภารกิจการขนส่งดาวเทียมและนักบินอวกาศ

แม้ว่าแนวคิดหลักจะเป็นการนำจรวดกลับมาใช้งานซ้ำเหมือนจรวด Falcon 9 แต่รูปแบบวิธีการของจรวดลองมาร์ช 10 ที่พัฒนาโดยบริษัท CASC ประเทศจีน นั้นแตกต่างออกไป โดยหลังทำภารกิจจรวดขนส่งอวกาศจะถูกดักจับกลางอากาศด้วยสายเคเบิลที่ทำงานประสานกันทั้ง 4 ทิศทาง รองรับจรวดที่ถูกจุดระเบิดเครื่องยนต์เพื่อชะลอความเร็วในการตกลงมาจากอวกาศ อย่างไรก็ตามในตอนนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของเครื่องยนต์และเชื้อเพลิงจรวดรุ่นดังกล่าวของจีน

แผนการพัฒนาจรวดขนส่งอวกาศรุ่นใหม่ของจีนในครั้งนี้ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อทีวีของหน่วยงานรัฐบาลจีน (CCTV) โดยคาดว่าจรวดรุ่นใหม่ลองมาร์ช 10 (Long March 10) จะมีบทบาทสำคัญในการขนส่งดาวเทียมและการสำรวจดวงจันทร์ของประเทศจีนในอนาคต

นอกจากบริษัท CASC ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศอีกหลายแห่งในประเทศจีนมีความก้าวหน้าด้านการพัฒนาจรวดอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอวกาศจีน (Chinese Academy of Sciences) เช่น บริษัท Landspace, CAS Space, Galactic Energy, iSpace และ Deep Blue Aerospace ซึ่งทุกบริษัทที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนอยู่ในระหว่างการพัฒนาจรวดที่สามารถเดินทางกลับโลกเพื่อใช้งานซ้ำ โดยมีบางบริษัทดำเนินการทดสอบจรวดมีความก้าวหน้ามากกว่าบริษัท CASC


ที่มาของข้อมูล space.com

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ