TNN ทดสอบโดรนความเร็วเหนือเสียงบินด้วยเครื่องยนต์จรวดระเบิดแบบหมุน (RDRE)

TNN

Tech

ทดสอบโดรนความเร็วเหนือเสียงบินด้วยเครื่องยนต์จรวดระเบิดแบบหมุน (RDRE)

ทดสอบโดรนความเร็วเหนือเสียงบินด้วยเครื่องยนต์จรวดระเบิดแบบหมุน (RDRE)

บริษัท Venus Aerospace สหรัฐอเมริกา ทดสอบโดรนความเร็วเหนือเสียงบินด้วยเครื่องยนต์จรวดระเบิดแบบหมุน (RDRE)

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีบริษัทเอกชนหลายแห่งกำลังพัฒนาโดรนบินความเร็วเหนือเสียง เช่นเดียวกับ บริษัท วีนัส แอร์โรสเปซ (Venus Aerospace) ก็นับเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่นำเสนอโดรนบินความเหนือเสียงรูปแบบใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์จรวดระเบิดแบบหมุน (RDRE หรือ Rotating Detonation Rocket Engine) ซึ่งจะถูกใช้พัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องบินอวกาศรุ่นใหม่ของบริษัทในอนาคต


แนวคิดของโดรนบินความเร็วเหนือเสียงไม่ใช่เรื่องใหม่และสามารถย้อนกลับไปถึงการพัฒนาอาวุธในช่วงปี 1950 โดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นต้องการพัฒนาเครื่องบินเจ็ตความเหนือเสียงที่ควบคุมจากระยะไกลด้วยรีโมต เพื่อใช้ทำภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ รวมไปถึงการติดตั้งระเบิดหรือหัวรบนิวเคลียร์


การพัฒนาโดรนบินความเร็วเหนือเสียงของบริษัท วีนัส แอร์โรสเปซ (Venus Aerospace) โครงสร้างมีขนาดความยาว 2.4 เมตร น้ำหนัก 140 กิโลกรัม ติดตั้งเครื่องยนต์จรวดระเบิดแบบหมุน (RDRE) ไว้ด้านท้าย รูปลักษณ์ภายนอกของโดรนมีลักษณะคล้ายจรวดที่ติดตั้งไว้ใต้ปีกของเครื่องบินรบ


การทดสอบมีขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัทใช้การปล่อยโดรนจากเครื่องบินในระดับความสูง 12,000 ฟุต หรือ 3.7 กิโลเมตร โดรนสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 0.9 มัค หรือ 1,111 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นับเป็นการทดสอบครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จ แม้จะเป็นความเร็วที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับอาวุธหรือเครื่องบินรบในยุคปัจจุบัน


สำหรับขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์จรวดระเบิดแบบหมุนได้ (RDRE) นั้นเป็นวิธีการใหม่ในการสร้างระบบขับเคลื่อนให้กับโดรน ลักษณะเป็นเครื่องยนต์โมโนโพรเพลแลนท์ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide monopropellant engine) ที่ทำงานด้วยแรงขับประมาณ 80% ในระยะ 10-16 กิโลเมตร เพื่อให้โดรนสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเหนือเสียง


การทำงานภายในเครื่องยนต์จรวดลักษณะนี้ไม่ได้ใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิงและออกซิเจน แต่จะใช้การระเบิดของกระบอกสูบโคแอกเซียล 2 กระบอกที่มีช่องว่างระหว่างกันเพื่อใช้จุดระเบิดเชื้อเพลิง โดยอาศัยแรงจากปฏิกิริยาคลื่นกระแทกทำให้เกิดความร้อนและความดันจนกลายเป็นแรงขับมหาศาล เครื่องยนต์จรวดลักษณะนี้กล่าวกันว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์จรวดทั่วไปอย่างน้อย 15% เพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกน้ำหนักมากขึ้นและทำความเร็วสูงขึ้น แม้แต่องค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาก็เคยทดสอบเครื่องยนต์จรวดลักษณะนี้ในช่วงปลายปี 2023 ที่ผ่านมา


นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของบริษัท วีนัส แอร์โรสเปซ (Venus Aerospace) เท่านั้น บริษัทวางแผนการพัฒนาเครื่องบินอวกาศความเร็วเหนือเสียง (Venus Stargazer Spaceplane) ในอนาคตให้สามารถใช้งานซ้ำได้เพื่อใช้ขนส่งผู้โดยสารด้วยความเร็ว 9 มัค หรือ 11,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระดับความสูง 170,000 ฟุต หรือใกล้เส้นพรมแดนระหว่างโลกกับอวกาศตรงเส้นคาร์มาน (Kármán Line) ที่ระดับความสูง 100 กิโลเมตร




ที่มาของข้อมูล newatlas.com, vietnam.vn/th

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ