TNN กล้องโทรทรรศน์อวกาศ EHT เผยภาพล่าสุดของหลุมดำ Sagittarius A* ใจกลางทางช้างเผือก

TNN

Tech

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ EHT เผยภาพล่าสุดของหลุมดำ Sagittarius A* ใจกลางทางช้างเผือก

 กล้องโทรทรรศน์อวกาศ EHT เผยภาพล่าสุดของหลุมดำ Sagittarius A* ใจกลางทางช้างเผือก

กล้องโทรทรรศน์อวกาศอีเวนต์ฮอไรซอน (Event Horizon) เผยภาพหลุมดำ Sagittarius A* ใจกลางทางช้างเผือก ช่วยให้นักดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจหลุมดำได้มากขึ้น

ทีมนักดาราศาสตร์ภายในโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศอีเวนต์ฮอไรซอน (Event Horizon) หรือ EHT เปิดเผยภาพมุมแรกของภาพแบบโพลาไรซ์ (Polarization) และสนามแม่เหล็กที่ล้อมรอบหลุมดำ Sagittarius A* ซึ่งเป็นหลุมดำมวลมหาศาลที่อยู่ใจกลางทางช้างเผือก หรือดาราจักรที่เป็นที่ตั้งของระบบสุริยะและโลกของเรา


โดยหลุมดำ Sagittarius A* หรือ Sgr A* คาดว่าจะมีมวลมากกว่า 4.3 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ หรือเปรียบเทียบได้กับขนาดของดวงอาทิตย์ 6,500 ล้านดวง ถูกนำรวมเอาไว้ในที่เดียว หลุมดำ Sagittarius A* มีระยะทางห่างจากโลก 27,000 ปีแสง หรือระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 27,000 ปี  


ภาพถ่ายที่ถูกเปิดเผยออกมาแสดงให้เห็นถึงสนามแม่เหล็กพลังงานสูง มองเห็นโครงสร้างที่มีลักษณะบิดเบี้ยว และเป็นระเบียบ หมุนตัววนรอบหลุมดำ Sagittarius A* ชัดเจน เนื่องจากสนามแม่เหล็กที่มีความรุนแรง นักดาราศาสตร์แลวิทยาศาสตร์สามารถใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดังกล่าวไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลุมดำและปฏิสัมพันธ์กับสสาร รวมถึงก๊าซรอบนอกได้อย่างไร


ในปี 2022 ที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศอีเวนต์ฮอไรซอนได้เคยเปิดเผยภาพของหลุมดำมวลมหาศาล Sagittarius A* หรือ Sgr A* ภาพแรกมาแล้ว แต่ในขณะนั้นภาพถ่ายมีลักษณะเป็นคลื่นแสง พลาสมาที่อาจเกิดจากสนามแม่เหล็กรอบ ๆ หลุมดำไม่มีรายละเอียดของภาพแบบโพลาไรซ์ (Polarization) ที่ถูกเปิดเผยในวันนี้


ก่อนหน้านี้ในปี 2017 กล้องดังกล่าวได้เคยถ่ายภาพแรกของหลุมดำ M87* มาแล้ว ซึ่งอยู่ห่างจากโลกกว่า 53.5 ล้านปีแสง ก่อนเปิดเผยต่อสาธารณะชนครั้งแรกในปี 2019 โดยภาพถ่ายหลุมดำ M87* ในตอนนั้นแสดงให้เห็นโพลาไรซ์ซึ่งเกิดจากคลื่นแสง พลาสมา และสนามแม่เหล็กที่อยู่รอบ ๆ หลุมดำ M87* ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีความคล้ายกับภาพแบบโพลาไรซ์ (Polarization) ภาพหลุมดำ Sagittarius A* หรือ Sgr A*


ที่มาของข้อมูล Space.com

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ