TNN 71.3 ปีมีครั้ง !! ทำความรู้จัก “ดาวหาง 12P/Pons-Brooks” 21 เมษานี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

TNN

Tech

71.3 ปีมีครั้ง !! ทำความรู้จัก “ดาวหาง 12P/Pons-Brooks” 21 เมษานี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

71.3 ปีมีครั้ง !! ทำความรู้จัก “ดาวหาง 12P/Pons-Brooks”  21 เมษานี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

21 เมษายนนี้ เตรียมพบกับดาวหาง 12P/Pons-Brooks ซึ่งเป็นดาวหางประเภทเดียวกับดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) คือมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 71.3 ปี อยู่ในดาวหางประเภท "ดาวหางคาบสั้น" ซึ่งชื่อของดาวหาง ได้แรงบันดาลมาจากชื่อของผู้ที่ค้นพบครั้งแรกและครั้งที่สอง

71.3 ปีมีครั้ง !! ทำความรู้จัก “ดาวหาง 12P/Pons-Brooks”  21 เมษานี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า


21 เมษายนนี้ เตรียมพบกับดาวหาง 12P/Pons-Brooks ซึ่งเป็นดาวหางประเภทเดียวกับดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) คือมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 71.3 ปี อยู่ในดาวหางประเภท "ดาวหางคาบสั้น" ซึ่งชื่อของดาวหาง ได้แรงบันดาลมาจากชื่อของผู้ที่ค้นพบครั้งแรกและครั้งที่สอง   

  •  ค้นพบครั้งแรกในปี 1812 โดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Jean-Louis Pons 
  •  ค้นพบครั้งที่สองในปี 1883 โดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน William Robert Brooks


12P/Pons-Brooks มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นดาวหางแบบ “ไครโอโวลคานิก” (Cryovolcanic) หรือเป็นดาวหางที่มี “หาง” ซึ่งเกิดจากแรงดันภายในที่เพิ่มขึ้นจากความร้อน จนส่งผลให้น้ำแข็งที่ติดอยู่เกิดการระเหย จนกลายเป็นก๊าซและฝุ่นละออง มีลักษณะบาน ๆ คล้ายพัด


และในวันที่ 21 เมษายน 2024 นี้ จะเป็นวันที่ตัวดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยจะอยู่ห่างจากกันเพียง 116.8 ล้านกิโลเมตร นั่นทำให้ช่วงเวลาก่อนหน้า หรือประมาณภายในเดือนมีนาคมนี้ จนไปถึงช่วงสิ้นเดือนเมษายน เราจะสามารถมองเห็นตัวดาวหางได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากความร้อนของพระอาทิตย์ส่งผลให้เกิดการระเหยและความสว่างที่มากขึ้น


ตามข้อมูลของ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) คาดการณ์ว่าดาวหาง 12P/Pons-Brooks จะมีความสว่างมากที่สุดประมาณ +6.5 หรือสว่างพอที่เราจะมองเห็นมันด้วยตาเปล่าในท้องฟ้าที่มืดสนิท 


อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่อยากเห็นดาวหาง 12P/Pons-Brooks สักครั้ง ควรจะเตรียมกล้องส่องทางไกล กล้องโทรทรรศน์ และแผนภูมิท้องฟ้าเอาไว้ รวมไปถึงควรหาพื้นที่โล่งกว้าง มีแสงน้อย และเป็นวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส จะช่วยให้เห็นดาวหางได้ชัดเจนขึ้น


โดยดาวหางจะปรากฏให้เราเห็นได้ประมาณ 2 ช่วงเวลาเท่านั้น

  1. ในช่วงตอนเย็น หรือหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ของทุกวันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม จนถึงปลายเดือนเมษายน

  2. เหนือขอบท้องฟ้าในตอนเช้า ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนรุ่งสาง 


จะอยู่ตรงตำแหน่งกลุ่มดาว แอนโดรเมดา ( Andromeda the Princess) ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก โดยเราจะมองเห็นดาวหางได้ชัดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม และพอหลังวันที่ 21 เมษายน ดาวหางจะเริ่มเห็นได้เล็กลงจนมองไม่เห็นอีกต่อไป เป็นอีกหนึ่งดาวหางที่ช่วงชีวิตหนึ่งของมนุษย์เรา จะได้เห็นสักครั้ง


ข่าวแนะนำ