TNN “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” สร้างหอคอยสีขาว Tor Alva ในเทือกเขาของสวิตเซอร์แลนด์

TNN

Tech

“เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” สร้างหอคอยสีขาว Tor Alva ในเทือกเขาของสวิตเซอร์แลนด์

“เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” สร้างหอคอยสีขาว Tor Alva ในเทือกเขาของสวิตเซอร์แลนด์

ชมการสร้างหอคอยสีขาวที่พิมพ์ 3 มิติในเทือกเขาแอลป์ของสวิตเซอร์แลนด์ เริ่มต้นก่อสร้างแล้ว ด้วยเสาที่ทำจากการพิมพ์คอนกรีต

หลังจากเคยปล่อยวิดีโอตัวอย่างออกมาให้ได้ชมกันก่อนหน้านี้ ในที่สุดโครงการสร้าง “หอคอยสีขาว” ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยจะเป็นหอคอยแบบโมดูลที่สามารถถอดชิ้นส่วนและติดตั้งใหม่ได้ แสดงถึงศักยภาพของการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบใหม่ ที่เน้นความสะดวก และใช้งานได้อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น  


“เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” สร้างหอคอยสีขาว Tor Alva ในเทือกเขาของสวิตเซอร์แลนด์ ภาพจาก ETH Zurich

 

สำหรับหอคอยสีขาว หรือที่รู้จักกันในชื่อ ทอร์ อัลวา (Tor Alva) จะตั้งอยู่ในหมู่บ้าน มูเลนซ์ (Mulegns) ซึ่งเป็นหมู่บ้านอันห่างไกลบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยได้ทีมจากกลุ่มเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบดิจิทัลของสถาบันวิจัย อีทีเอช ซูริค (ETH Zurich) ช่วยดูแลการก่อสร้าง 


โดยหัวใจสำคัญของกระบวนการก่อสร้างนี้ คือการพัฒนาเทคโนโลยีพิมพ์ 3 มิติ สำหรับพิมพ์โครงสร้างอาคารด้วยคอนกรีตอ่อน ที่มีคุณสมบัติคือยึดติดเข้ากับส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นเนื้อเดียวกันได้ดี และแข็งตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้รองรับการพิมพ์ชั้นต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง


“เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” สร้างหอคอยสีขาว Tor Alva ในเทือกเขาของสวิตเซอร์แลนด์ ภาพจาก ETH Zurich

 

ทีมวิจัยกล่าวว่า การสร้างหอคอยด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินี้ ยังมีข้อดีคือช่วยประหยัดการใช้คอนกรีตในการก่อสร้าง และยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตได้อีกด้วย


โดยการก่อสร้างช่วงแรกนี้ จะเริ่มจากการพิมพ์เสากลม 8 เสาแรกของหอคอยชั้นล่าง โดยใช้หุ่นยนต์จากสถาบันวิจัย อีทีเอช ซูริค ค่อย ๆ บีบอัดเนื้อคอนกรีตอ่อนออกเป็นมาเป็นชั้น ๆ ตามเส้นทางการพิมพ์ เพื่อสร้างเป็นเสาคอนกรีตกลวงแบบบิดเกลียว ที่มีข้อต่อสำหรับชั้นถัดไป เพื่อสร้างออกมาเป็นหอคอยที่จะมีเสาทั้งหมด 32 ต้นด้วยกัน 


“เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” สร้างหอคอยสีขาว Tor Alva ในเทือกเขาของสวิตเซอร์แลนด์ ภาพจาก ETH Zurich

 

นอกจากการพิมพ์เสาคอนกรีตแบบ 3 มิติแล้ว โครงสร้างของหอคอยจะถูกเสริมเหล็กบริเวณที่จำเป็น และเนื่องจากตัวหอคอยสร้างขึ้นแบบโมดูลลาร์ ทำให้สามารถรื้อถอนชิ้นส่วนต่าง ๆ และนำไปติดตั้งในพื้นที่ใหม่ได้ โดยอาจจะมีการโยกย้ายหอคอยหลังนี้หลังจากตั้งในหมู่บ้านเป็นเวลา 5 ปี


ตามกำหนดการที่ทางทีมพัฒนาระบุว่า คาดว่าจะเริ่มประกอบเสาของหอคอยสีขาวที่พิมพ์ 3 มิติได้ในเดือนพฤษภาคมปี 2024 และมีกำหนดเปิดตัวในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะ ดนตรี และการแสดงละคร รองรับผู้ชมได้สูงสุด 45 คน ทั้งนี้ถ้าสร้างแล้วเสร็จ หอคอยที่มีความสูงถึง 30 เมตรนี้ อาจคว้าตำแหน่งอาคารพิมพ์ 3 มิติที่สูงที่สุดในโลกได้อีกด้วย



ข้อมูลจาก designboomdbt.arch.ethzsustainable-digital

ข่าวแนะนำ