รู้หรือไม่ "แตงโม" คือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับ "ปาเลสไตน์"
รู้หรือไม่ว่า ในโลกออนไลน์ มีการใช้งานอิโมจิ (emoji) แตงโม เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับชาวปาเลสไตน์
อิโมติคอน (emoticon) หรืออิโมจิ (emoji) แตงโม ในมุมมองผู้ใช้งานแพลตฟอร์มหรือการพิมพ์ข้อความบนอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นจะใช้แทนสัญลักษณ์แตงโมที่เป็นผลไม้เป็นส่วนใหญ่ แต่แตงโมยังเป็นสัญลักษณ์การแสดงออกทางการเมืองของชาวปาเลสไตน์ด้วย
แตงโมกับปาเลสไตน์
เทคครันช์ (Techcrunch) สำนักข่าวด้านเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกา รายงานข่าวพบเห็นการใช้สัญลักษณ์อิโมจิแตงโมบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อาทิ ติ๊กตอก (TikTok) และอินสตาแกรม (Instagram) รวมไปถึงบนเอกซ์ (X) หรือ ทวิตเตอร์ (Twitter) ในอดีต เป็นตัวแทนการสนับสนุนการหยุดยิงและการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ว่ามีการใช้อิโมติคอนแตงโมบนเนื้อหา
แตงโมในที่นี้มีความหมายแทนธงของชาวปาเลสไตน์ เนื่องจากสีที่ปรากฏบนแตงโมเมื่อผ่าซีกกับสีที่ปรากฏบนผืนธงของปาเลสไตน์นั้นมีสีเดียวกัน ได้แก่ สีแดงจากเนื้อแตงโม สีเขียวจากเปลือกแตงโม สีขาวจากเปลือกส่วนในของแตงโมง และสีดำจากเม็ดแตงโม
ทำไมธงปาเลสไตน์ถึงกลายเป็นแตงโม ?
แตงโมได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ต้องการแสดงออกหรือเรียกร้องการหยุดยิงในปาเลสไตน์ เนื่องจากต้องการเลี่ยงการตรวจจับจากบนแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งหลายคนเชื่อว่าจะช่วยไม่ให้เนื้อหาของพวกเขานั้นถูกจำกัดการมองเห็น อีกทั้งยังไม่ให้ฝ่ายความมั่นคงในประเทศทางตะวันตกที่อาจสอดส่องเนื้อหานั้นมองว่าเป็นเนื้อหาที่เชื่อมโยงไปยังการก่อเหตุความรุนแรง
ทั้งนี้ สัญลักษณ์แตงโมงที่หมายถึงธงปาเลสไตน์นั้นอาจเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1980 จากการสั่งปิดนิทรรศการศิลปะของอิสราเอล เนื่องจากมีงานศิลปะที่ชูการใช้ธงปาเลสไตน์ ดังนั้น ในงานจึงมีศิลปินที่เสนอให้ใช้ธงแตงโมแทน แต่การใช้งานทางการเมืองนั้นทางเทคครันช์รายงานว่าอาจเริ่มในช่วงต้นยุค 2000 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิธีการหลบเลี่ยงการตรวจจับทางเทคโนโลยีด้วยเนื้อหาอื่นทดแทน โดยเรียกพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวว่าอัลโกสปีก (Algospeak) ซึ่งในไทยหรือทั่วโลกก็มีการใช้ภาพหรือคำที่เลี่ยงปัญหาลักษณะนี้เช่นกัน เช่น การใช้คำว่า "ยิj" แทนคำว่ายิง "vาย" แทนคำว่าขายในโซเชียลมีเดียของไทย
ที่มาข้อมูล Techcrunch
ที่มารูปภาพ Unsplash
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67