TNN ทึ่ง ! คืนชีพสัตว์น้ำดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 450 ล้านปี ในร่างของหุ่นยนต์อ่อนนุ่ม

TNN

Tech

ทึ่ง ! คืนชีพสัตว์น้ำดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 450 ล้านปี ในร่างของหุ่นยนต์อ่อนนุ่ม

ทึ่ง ! คืนชีพสัตว์น้ำดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 450 ล้านปี ในร่างของหุ่นยนต์อ่อนนุ่ม

มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ฟื้นคืนชีพ “เพลอโรซิสทิทิด” (Pleurocystitid) สัตว์น้ำที่สูญพันธุ์ไปแล้วเกือบ 450 ล้านปี ในร่างของหุ่นยนต์อ่อนนุ่ม (Soft- bodied robot)

คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยสหรัฐอเมริกา คืนชีพ “เพลอโรซิสทิทิด” (Pleurocystitid) สัตว์น้ำที่สูญพันธุ์ไปแล้วเกือบ 450 ล้านปี ในร่างของหุ่นยนต์ชนิดอ่อน (Soft- bodied robot) เพื่อศึกษาลักษณะการเคลื่อนไหวซึ่งอาจเป็นแรงบันดาลใจใหม่ในการพัฒนารูปแบบการเคลื่อนที่ให้กับหุ่นยนต์ในอนาคต

Pleurocystitid เป็นสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ประเภทเอคไคโนเดิร์ม (Echinoderm) หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีผิวหนังเป็นหนามหรือมีแผ่นหินปูนอยู่ใต้ผิวหนัง จัดอยู่ในไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (Echinodermata) บรรพบุรุษของเหล่าดาวทะเล หอยแม่น โดย Pleurocystitid ถือว่าเป็นเอไคโนเดิร์มตัวแรกที่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยอวัยวะที่คล้ายกับหาง

อวัยวะที่คล้ายกับหางนี้เองที่ทำให้ ฟิล เลอดุก (Phil LeDuc) และคาร์เมล มาจีดี (Carmel Majidi) สองศาสตราจารย์และนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยคาร์เนจี เมลลอน (Carnegie Mellon University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ริเริ่มโครงการที่ทำให้สัตว์น้ำอายุราว 450 ล้านปีตัวนี้กลับมาเคลื่อนไหวได้อีกครั้งแม้ว่าจะเป็นในรูปแบบของหุ่นยนต์ก็ตาม เพื่อที่จะศึกษาว่า Pleurocystitid ใช้อวัยวะที่คล้ายกับหางในการเคลื่อนที่ข้ามพื้นทะเลอย่างไร 

โดยทีมงานใช้ซากฟอสซิลของมันเป็นแนวทางในการออกแบบ รวมถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อจำลองโครงสร้างของหุ่นยนต์  Pleurocystitid ชนิดอ่อนนุ่ม (Soft-bodied robot) ซึ่งมาพร้อมกับหางที่มีมอเตอร์ที่สามารถยืดหยุ่นได้ ขณะที่ทำการทดลอง นักวิจัยพบว่า ลักษณะของหางที่สะบัดเป็นวงกว้างจะช่วยผลักให้หุ่นยนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ดีที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าการเพิ่มความยาวของหางช่วยเพิ่มความเร็วของหุ่นยนต์ได้อย่างมากโดยไม่ต้องใช้พลังงานเพิ่มเติมใด ๆ 

ที่มาข้อมูล Newatlas.com 

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ