TNN “เครื่องตรวจจับไฟป่า” จากสมาร์ตโฟน “SAMSUNG” รีไซเคิล

TNN

Tech

“เครื่องตรวจจับไฟป่า” จากสมาร์ตโฟน “SAMSUNG” รีไซเคิล

“เครื่องตรวจจับไฟป่า” จากสมาร์ตโฟน “SAMSUNG” รีไซเคิล

เครื่องตรวจจับไฟป่าจากสมาร์ตโฟน SAMSUNG รีไซเคิล ชนะการแข่งขัน Re:Create Design Challenge

ทีมนักออกแบบจากเวทีประกวด Re:Create Design Challenge ซึ่งจัดขึ้นโดย Samsung และ Dezeen นิตยสารการออกแบบและสถาปัตยกรรมชื่อดัง คว้าผลงานชนะเลิศจากการออกแบบเครื่องตรวจจับไฟป่า ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลจากสมาร์ตโฟนเก่าและขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานแสงอาทิตย์ กลายเป็นอีกหนึ่งแนวคิดใหม่ที่หยิบของใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

“เครื่องตรวจจับไฟป่า” จากสมาร์ตโฟน “SAMSUNG” รีไซเคิล ภาพจาก Dezeen

 

สำหรับผลงานนี้มีชื่อว่า "Solar Lookout" เป็นแนวคิดการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ตรวจจับไฟป่า ที่สร้างขึ้นจากวัสดุรีไซเคิลจากสมาร์ตโฟนของซัมซุง และใช้พลังงานหมุนเวียนในการทำงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดระยะเวลาระหว่างการเกิดไฟป่าและการแจ้งเหตุครั้งแรกให้สั้นลง

“เครื่องตรวจจับไฟป่า” จากสมาร์ตโฟน “SAMSUNG” รีไซเคิล ภาพจาก Dezeen

 

ตัวอุปกรณ์นี้ มีลักษณะเป็นเสาติดตั้งสมาร์ตโฟนไว้ภายในภาชนะโลหะที่มีช่องเปิด ที่ออกแบบมาอย่างดีเพื่อให้กล้องของสมาร์ตโฟนสามารถจับภาพสภาพแวดล้อมภายนอกได้ โดยติดตั้งอยู่เหนือพื้นดินที่ความสูงประมาณ 300 เซนติเมตร ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่า 


การทำงาน จะใช้กล้องสมาร์ตโฟนเพื่อตรวจจับความผิดปกติ เช่น ไฟหรือควัน และใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ช่วยระบุเหตุที่เกิดขึ้น และสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายแบบตาข่าย (Mesh networking) เพื่อรายงานข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงรูปแบบสภาพอากาศ และคุณภาพอากาศ ในบริเวณดังกล่าว

“เครื่องตรวจจับไฟป่า” จากสมาร์ตโฟน “SAMSUNG” รีไซเคิล ภาพจาก Dezeen

 

ส่วนพลังงานที่ใช้ จะมาจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 50 วัตต์ ด้านบนเสา โดยทำหน้าที่สองอย่าง คือ หนึ่ง ผลิตพลังงานให้กับสมาร์ตโฟน และสอง ทำหน้าที่ให้ร่มเงากับสมาร์ตโฟนเพื่อให้ตัวเครื่องไม่ร้อนเกินไป ทั้งนี้แต่ละเสาจะมีพาวเวอร์แบงค์ของซัมซุง ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานสำรองเพื่อให้อุปกรณ์สามารถใช้งานอย่างต่อเนื่องยามค่ำคืนได้ด้วย 

“เครื่องตรวจจับไฟป่า” จากสมาร์ตโฟน “SAMSUNG” รีไซเคิล ภาพจาก Dezeen

 

ด้วยการออกแบบที่ครบครันทั้งฟังก์ชันการใช้งานและการออกแบบได้อย่างลงตัว ก็ทำให้ทีมผู้พัฒนา Solar Lookout คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 10,000 ปอนด์ หรือราว 440,000 บาทไปได้สำเร็จ และเชื่อว่าถ้าได้ต่อยอดใช้งานจริง น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้ชุมชนระวังภัยไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 



ข้อมูลจาก news.samsung, dezeen

ข่าวแนะนำ