TNN หุ่นยนต์น้องหมาพูดได้ ! ด้วยพลัง AI และ ChatGPT

TNN

Tech

หุ่นยนต์น้องหมาพูดได้ ! ด้วยพลัง AI และ ChatGPT

หุ่นยนต์น้องหมาพูดได้ ! ด้วยพลัง AI และ ChatGPT

บอสตัน ไดนามิกส์ (Boston Dynamics) นำเสนอหุ่นยนต์สุนัขสปอต (Spot) ที่เพิ่มความสามารถในการพูดสื่อสารได้แล้ว

สปอต (Spot) เป็นหนึ่งในหุ่นยนต์สุนัขที่มีชื่อเสียงมากที่สุดตัวหนึ่งของโลกจากบริษัทบอสตัน ไดนามิกส์ (Boston Dynamics)  อัปเดตทักษะใหม่ที่น่าสนใจอย่างการพูดเพิ่มเติมขึ้นมาจากความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการตอบโต้ที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติของมนุษย์ผ่านแชตจีพีที (ChatGPT) แชตบอตจาก AI ชื่อดัง 


สปอต - หุ่นยนต์น้องหมาที่พูดได้

สปอต (Spot) เป็นหุ่นยนต์ทรงคล้ายสุนัขที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2020 สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 1.6 เมตรต่อวินาที (5.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ทำงานต่อเนื่อง 90 นาที พร้อมติดตั้งระบบกล้องคู่ สามารถตรวจจับพื้นที่โดยรอบแบบ 360 องศา พร้อมระบบหลีกสิ่งกีดขวาง


โดยนับตั้งแต่เปิดตัว ทางบอสตัน ไดนามิกส์ได้เสริมประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์สปอตมาโดยตลอด และความสามารถล่าสุดอย่างการพูดของสปอตนั้นเกิดขึ้นจากการทำงานของ AI ที่แปลงข้อความเป็นเสียงผ่านลำโพง โดยมีเสียงหลากหลายรูปแบบที่สามารถเลือกใช้ได้ เช่น เสียงเห่าทั่วไป , เสียงจอช (Josh) หรือลักษณะเสียงผู้ชายเคร่งขรึม มีความทระนงตัว ไปจนถึงเสียงวัยรุ่นผู้หญิง เป็นต้น 


ทางบอสตัน ไดนามิกได้แสดงความสามารถของสปอตในการพูด ด้วยให้การหุ่นยนต์สุนัขเป็นไกด์สาธิต พาชมสถานที่ต่าง ๆ ภายในบริษัท พร้อมทั้งรองรับการสั่งงานด้วยเสียงผ่านคำสั่ง “Hey, Spot!” (เฮ่ สปอต) และตัวหุ่นก็จะตื่นขึ้นมาพร้อมรับคำสั่งต่อไป ซึ่งตัวสปอตสามารถตรวจจับที่มาของเจ้าของเสียงที่ออกคำสั่ง โดยจะจับเสียงที่ใกล้ตัวมันมากที่สุดก่อนเดินไปหาเพื่อเป็นการโต้ตอบ 


การสื่อสารระหว่างคนกับหุ่นยนต์สุนัข

สปอตสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว และเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์ด้วยการใช้งานแชตจีพีที (ChatGPT) แชตบอต (Chatbot) ชื่อดัง ในการรับคำสั่งเสียงเพื่อโต้ตอบคำถามที่มีผู้ถามขึ้นนอกเหนือจากแนวคำถามที่ AI ตรียมไว้ หรือถ่ายภาพผ่านกล้องที่ติดตั้งในตัวสปอตเอง ตลอดจนการแสดงความสามารถด้านภาษา อย่างเช่น ความสร้างสรรค์ในการใช้คำเพื่อการสร้างบรรยายระหว่างนำชมสถานที่ของบริษัท หรือแม้แต่การพูดบทกวี ก็สามารถทำได้


แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือการเพิกเฉยต่อคำถามอย่างไม่มีเหตุผล แม้ว่าจะมีการตอบคำถามนั้นในท้ายที่สุด เนื่องจากข้อจำกัดในการประมวลผล ที่ทำให้แนวคำถามนอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้ต้องใช้เวลาก่อนเลือกการโต้ตอบที่เหมาะสม แต่ทั้งหมดนี้เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการพัฒนาการสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์ ซึ่งตอนนี้มีมาให้เห็นเรื่อย ๆ และในอนาคตอาจจะกลายมาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของมนุษย์




ที่มาข้อมูล Designtaxi

ที่มารูปภาพ Boston Dynamics

ข่าวแนะนำ