TNN “เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี

TNN

Tech

“เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี

“เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี

นักเรียนชาวเยอรมันทดสอบต้นแบบเรือดำน้ำแบบปั่น เตรียมส่งลงแข่งในระดับนานาชาติเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ท้องทะเล

นักศึกษาชาวเยอรมันพัฒนาต้นแบบเรือดำน้ำพลังงานปั่น ที่ใช้คนเข้าไปถีบแป้นปั่นข้างใน คล้ายกับการปั่นจักรยาน โดยได้ทดสอบต้นแบบเรือลำนี้ ที่นอกหมู่เกาะคานารีของประเทศสเปน เตรียมส่งแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล


“เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี ภาพจากรอยเตอร์ 

 


เรือดำน้ำรุ่นที่เห็นในคลิปนี้มีชื่อว่า River shark ได้รับการออกแบบและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Hochschule Rhein-Waal โดยภายในตัวเรือบรรทุกได้ 1 คน มาพร้อมกับกลไกการปั่นคล้ายจักรยาน 


“เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี ภาพจากรอยเตอร์

 


สำหรับขนาดตัวเรือยาว 3 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางในจุดที่กว้างที่สุดของเรืออยู่ที่ 70 เซนติเมตร และจะมีถังออกซิเจนจะติดอยู่ที่ด้านล่างเป็นส่วนหนึ่งของลำเรือ ทำให้คนขับมีพื้นที่ว่างตรงลำตัวมากกว่า 40 เซนติเมตร และสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกโดยไม่มีสิ่งกีดขวางนอกจากฝาของตัวเรือ


“เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี ภาพจากรอยเตอร์

 


โดยท่าทางของคนที่ปั่นเรือ ก็จะอยู่ในลักษณะคล้ายการนอนราบ หันหน้ามาทางช่องหัวเรือที่เป็นโดมใส และเท้าจะต้องออกแรงเหยียบแป้นถีบไปมาเพื่อบังคับ “ครีบ” ของเรือที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสัตว์น้ำ ซึ่งจะโบกสะบัดคล้ายตีนกบของนักประดาน้ำ ส่งกำลังให้เรือเคลื่อนที่ไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้


“เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี ภาพจากรอยเตอร์

 


วิลเลียม เมกิลล์ (William Megill) อาจารย์ที่ปรึกษาของทีมนักศึกษาผู้พัฒนาเรือลำนี้กล่าวว่า พวกเขาเตรียมที่จะนำเรือ ไปเข้าร่วมการแข่งขัน SubRacing Series หรือการแข่งขันเรือดำน้ำใต้ทะเลเป็นครั้งแรกในปีหน้า 


“เรือดำน้ำพลังงานปั่น” ฝีมือนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี ภาพจากรอยเตอร์

 


ซึ่งเรือที่ใช้แข่งขันจะควบคุมร่วมกันโดยคนขับเรือและคนนำทางเรือ โดยสามารถใช้เทคโนโลยี AR หรือเทคโนโลยีผสานโลกความจริงกับโลกเสมือน มาช่วยในการมองทิศทางของเรือได้ โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์มหาสมุทรที่สำคัญทั่วโลก ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาและการอนุรักษ์ทางทะเลมากขึ้น


ข้อมูลจาก reutersconnect,  subracingseries, straitstimes, internationalsubmarineraces

ข่าวแนะนำ