14 รูปประวัติศาสตร์ ครบรอบ 65 ปี NASA
ในเดือนตุลาคมนี้ ถือว่าครบรอบ 65 ปีที่นาซาดำเนินการมา และนี่คือ 14 ภาพประวัติศาสตร์ของนาซาที่น่าสนใจ
องค์การนาซา หรือ NASA เป็นคำย่อมาจาก National Aeronautics and Space Administration ( องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 1958 เมื่อประธานาธิบดี ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ลงนามในรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ แต่ทั้งนี้ได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม 1958 ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันเกิดของนาซานั่นเอง
ในเดือนตุลาคมนี้ ถือว่าครบรอบ 65 ปีที่นาซาดำเนินการมา ดังนั้นวันนี้เราจึงพามาย้อนดู 14 ภาพประวัติศาสตร์ของนาซากัน
11 ตุลาคม 1958 : ไพโอเนียร์ 1 ดาวเทียมดวงแรกของนาซา
นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ ของนาซา กับการเปิดตัวดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐฯ ชื่อไพโอเนียร์ 1 (Pioneer 1) เดิมทีโครงการนี้ริเริ่มโดยกองทัพสหรัฐฯ ก่อนจะส่งมอบภารกิจต่อมายังนาซา เป้าหมายหลักของไพโอเนียร์ 1 คือการส่งเข้าไปยังวงโคจรดวงจันทร์ โดยติดตั้งกล้องโทรทัศน์ไปด้วยเพื่อถ่ายภาพพื้นผิวดวงจันทร์และส่งกลับมายังโลก แต่น่าเสียดายที่ไพโอเนียร์ 1 มีปัญหาด้านกลไก ดังนั้นมันจึงสามารถส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้เพียง 43 นาทีเท่านั้นก่อนที่จะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก
5 พฤษภาคม 1961 : ชาวอเมริกันคนแรกบนอวกาศ
อลัน เชปเพิร์ด (Alan Shepard) นักบินอวกาศคนแรกของอเมริกาที่ได้ขึ้นไปยังอวกาศ ภารกิจของเขารู้จักกันในชื่อมิสชัน 7 (Mission 7) เขาใช้เวลาบินใต้วงโคจร 15 นาที ซึ่งหมายถึงไม่ได้โคจรรอบโลก แต่บินสูงขึ้นประมาณ 187 กิโลเมตร ก่อนที่จะกลับมายังโลก วัตถุประสงค์ของภารกิจนี้คือเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ
3 มิถุนายน 1965 : ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้เดินบนอวกาศ
เอ็ด ไวท์ (Ed White) กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้เดินบนอวกาศ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีชุดอวกาศและทักษะการเดินบนอวกาศเพื่อภารกิจต่อ ๆ ไป
27 มกราคม 1967 : เกิดเหตุเพลิงไหม้ในโครงกาลอะพอลโล
ไฟไหม้บนแท่นยิงจรวด ทำให้ลูกเรืออะพอลโล (Apollo) กลุ่มแรก ได้แก่ กัส กริสซัม (Gus Grissom) เอ็ด ไวท์ (Ed White) และโรเจอร์ แชฟฟี (Roger Chaffee) เสียชีวิต หลังจากนั้นนาซาตอบสนองต่อการสูญเสียครั้งใหญ่นี้ด้วยการยกเครื่องการออกแบบยานอวกาศอะพอลโลรวมถึงพัฒนากระบวนการและขั้นตอนที่ช่วยให้สามารถดำเนินโครงการอะพอลโลที่เหลือได้อย่างปลอดภัย
20 กรกฎาคม 1969 : มนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบดวงจันทร์
นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) และ บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่เดินบนเทห์ฟากฟ้าอีกดวงหนึ่ง
13 เมษายน 1970 : อะพอลโล 13 ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จ
เกิดการระเบิดในชิ้นส่วนบริการของยานอะพอลโล 13 (Apollo 13) หลังจากปฏิบัติภารกิจไปได้ 56 ชั่วโมง นักบินอวกาศ 3 คน จึงใช้ชิ้นส่วนยานอวกาศลูนาร์โมดูล (Lunar Module) เป็นเรือชูชีพ พวกเขาโคจรรอบดวงจันทร์ 3 วัน ก่อนที่จะกลับมายังโลกสำเร็จ ภารกิจนี้ถือว่าล้มเหลวเพราะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการลงจอดบนดวงจันทร์ แต่ก็แสดงให้เห็นความสามารถของนาซาในการจัดการลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยของนาซา จึงถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของนาซา
17 กรกฎาคม 1975 : ยานอวกาศอะพอลโลเชื่อมต่อกับยานอวกาศโซยุซกลางอวกาศ
นี่คือการร่วมมือกันด้านอวกาศครั้งแรกระหว่างสหรัฐฯ และโซเวียตในยุคสงครามเย็น โดยยานอะพอลโลของสหรัฐฯ ได้เข้าเชื่อมต่อกับยานโซยุซ (Soyuz) ของรัสเซียกลางอวกาศ เป็นสัญลักษณ์ของความผ่อนคลายในช่วงสงครามเย็นระหว่างสองชาติมหาอำนาจ
20 ตุลาคม 1976 : ยานอวกาศไวกิง 1 ลงจอดบนดาวอังคาร
ยาวอวกาศไวกิง 1 (Viking 1) ลงจอดบนดาวอังคาร ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นการสำรวจดาวเคราะห์สีแดงในรอบ 40 ปีของนาซา
18 มิถุนายน 1983 : ผู้หญิงชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ
แซลลี ไรด์ (Sally Ride) กลายเป็นผู้หญิงอเมริกันคนแรกที่ได้ไปอวกาศ
28 มกราคม 1986 : กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ระเบิด
หลังจากปล่อยตัวขึ้นสู่อวกาศได้เพียง 73 วินาที กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (Challenger) ก็เกิดระเบิด ทำให้ลูกเรือทั้ง 7 คนเสียชีวิต
25 เมษายน 1990 : กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเดินทางสู่อวกาศ
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เริ่มต้นออกเดินทางจากสู่อวกาศ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากฮับเบิลได้เปลี่ยนแปลงพื้นฐานวิธีที่เรามองจักรวาล การสัมผัสกับหลุมดำ พลังงานมืดและสสาร และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นๆ นอกจากนี้ยังได้จับภาพที่เหมือนสัญลักษณ์ (Iconic) รวมถึงภาพนี้ที่ถ่ายจากเนบิวลานกอินทรี (Eagle Nebula) ที่เรียกว่า "เสาหลักแห่งการสร้างสรรค์ (Ths Pillars of Creation)"
1 กุมภาพันธ์ 2003 : กระสวยอวกาศโคลัมเบียระเบิด
กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Columbia) ออกเดินทางปฏิบัติภารกิจครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2003 แต่เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจและกำลังเดินทางกลับสู่โลกมันก็เกิดการระเบิดขึ้น ทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิต
25 สิงหาคม 2012 : ยานอวกาศโวเอเจอร์ 1 เข้าถึงห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว
ยานโวเอเจอร์ 1 (Voyager 1) กลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่เข้าถึงห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว (Interstellar Space) หรือก็คือพ้นสุดเขตแดนของระบบสุริยะของเรา เป็นช่องว่างซึ่งอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงและสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ลดลง การเข้าสู่ห้วงอวกาศระหว่างดวงดาวแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของยานอวกาศจากระบบสุริยะไปสู่กาแล็กซีทางช้างเผือกที่กว้างใหญ่
4 กรกฎาคม 2016 : ยานอวกาศจูโน่เดินทางถึงวงโคจรดาวพฤหัสบดี
ยานอวกาศจูโน่ (Juno) ซึ่งมีภารกิจหลักคือการสำรวจดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลของเรา ได้เดินทางถึงวงโคจรรอบดาวพฤหัสบดีในวันที่ 4 กรกฎาคม 2016
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ NASA
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67