TNN นาซาเตรียมทดสอบหอปล่อยจรวดสำหรับภารกิจ Artemis 2 การส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์

TNN

Tech

นาซาเตรียมทดสอบหอปล่อยจรวดสำหรับภารกิจ Artemis 2 การส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์

นาซาเตรียมทดสอบหอปล่อยจรวดสำหรับภารกิจ Artemis 2 การส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์

นาซาเตรียมทดสอบหอปล่อยจรวดสำหรับภารกิจ Artemis 2 การส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์

นาซาเตรียมทดสอบหอปล่อยจรวด (MLP) สำหรับภารกิจ Artemis 2 การส่งมนุษย์อวกาศกลุ่มแรก 4 คน เดินทางไปโคจรรอบดวงจันทร์ภายใต้โครงการ Artemis ในปี 2024 ภารกิจดังกล่าวเป็นการส่งมนุษย์เดินทางไปโคจรรอบดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบ 51 ปี ภายหลังจากโครงการอะพอลโล


โครงสร้างหอปล่อยจรวด (MLP) มีลักษณะเป็นฐานปล่อยจรวดที่เคลื่อนที่ได้ ความสูง 115 เมตร รองรับการเชื่อมต่อกับจรวด SLS หนึ่งในจรวดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน 


สำหรับหอปล่อยจรวด (MLP) ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ เช่น เครื่องมือในการยึดจับจรวด SLS เข้ากับฐานปล่อย ระบบการทำงานของอุปกรณ์เติมเชื้อเพลิงให้กับจรวด SLS ลิฟต์และทางเดินเชื่อมต่อระหว่างหอปล่อยจรวดกับยานอวกาศ 


สำหรับจรวด SLS หรือ Space Launch System นับเป็นจรวดขนส่งหลักของนาซาที่คาดว่าจะถูกใช้ในภารกิจสำคัญ ๆ อีกหลายภารกิจ จรวดแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย 

1. จรวดแกนหลัก (Core Stage) ทำหน้าที่เป็นจรวดหลัก ใช้เชื้อเพลิงเหลว

2. จรวดเสริมเชื้อเพลิงแข็งบูสเตอร์ (Solid Rocket Boosters) กินตั้งด้านข้างของจรวดแกนหลักทั้งด้านซ้ายและขวา

3. ยานอวกาศ Orion ยานอวกาศลำนี้สามารถรองรับนักบินอวกาศทำภารกิจเดินทางไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้

4. จรวดบูสเตอร์ส่วนบน (Upper Stage) ทำหน้าที่ขนส่งยาน Orion เดินทางไปยังวงโคจรของโลกหรือภารกิจดวงจันทร์


ก่อนหน้านี้นาซาประกอบความสำเร็จในภารกิจ Artemis 1 การส่งยานอวกาศแบบไร้นักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์และเดินทางกลับโลกในปี 2022 โดยใช้ฐานปล่อยจรวดแห่งนี้ในการทำภารกิจและส่งจรวด SLS ขึ้นสู่อวกาศ


ความรุนแรงของเครื่องยนต์จรวด SLS ส่งผลให้หอปล่อยจรวด (MLP) ได้รับความเสียหายเล็กน้อย เช่น บริเวณประตูลิฟต์ขนส่งนักบินอวกาศ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ Artemis 1 นาซาได้เคลื่อนย้ายหอปล่อยจรวดแห่งนี้ออกจากฐานปล่อยจรวดหมายเลข 39B ไปทำการซ่อมบำรุง


เนื่องจากการปล่อยจรวดขนส่งอวกาศยังคงมีความอันตรายและต้องการความปลอดภัยสูง ทำให้นอกจากนาซาจะทดสอบการใช้งานหอปล่อยจรวด คาดว่าจะมีการทดสอบระบบความปลอดภัยอื่น ๆ ทั้งในด้านของการเติมเชื้อเพลิง ระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยต่าง ๆ รวมไปถึงระบบทางออกฉุกเฉินสำหรับนักบินอวกาศในกรณีที่มีการยกเลิกภารกิจ


ที่มาของข้อมูล Space

ที่มาของรูปภาพ NASA



ข่าวแนะนำ