TNN ไบเดนอนุมัติ 1.2 พันล้านดอลลาร์ให้โครงการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

TNN

Tech

ไบเดนอนุมัติ 1.2 พันล้านดอลลาร์ให้โครงการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ไบเดนอนุมัติ 1.2 พันล้านดอลลาร์ให้โครงการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ไบเดนอนุมัติ 1.2 พันล้านดอลลาร์ให้โครงการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ในรัฐเท็กซัสและรัฐลุยเซียนา

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อนุมัติ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 42,082 ล้านบาท ให้โครงการดักจับอากาศโดยตรง (DAC) จำนวน 2 โครงการ ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อสร้างเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ 


โดยตั้งเป้าดักจับให้ได้มากถึง 2 ล้านเมตริกตันในทุก ๆ ปี หรือปริมาณเทียบได้เท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมัน 445,000 คันต่อปี นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการสร้างงานในรัฐเท็กซัสและรัฐลุยเซียนาอีกกว่า 4,800 ตำแหน่ง 


โครงการดักจับอากาศโดยตรง (DAC) นับเป็นโครงการแรกของสหรัฐอเมริกาที่ใช้เทคโนโลยีแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศและนำไปเก็บไว้ใต้ดิน หรือส่งไปผลิตเป็นคาร์บอนสำหรับคอนกรีตที่สามารถป้องกันไม่ให้ก๊าซหลุดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ


หากโครงการดังกล่าวในรัฐเท็กซัสและรัฐลุยเซียนาก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ คาดว่ามันจะสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้มากกว่า 250 เท่า หรือประมาณ 30 ล้านตันต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับต้นแบบโครงการดักจับอากาศโดยตรง (DAC) ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากการเปิดเผยของบริษัท 1PointFive ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท Occidental Petroleum และบริษัทพันธมิตรที่กำลังสร้างโรงงานในเท็กซัส 


เป้าหมายของโครงการทั้ง 2 โครงการนี้เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยการพัฒนากลุ่มโรงงานสำหรับการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำงานร่วมกับความพยายามลดการปล่อยก๊าซด้วยวิธีการอื่น ๆ 


ก่อนหน้านี้โครงการดังกล่าวทั้ง 2 โครงการ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าใช้งบประมาณที่สูงมากจนเกินไปและควรมีการลดต้นทุนลงหากต้องการก่อสร้างเพื่อกระจายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ทำให้โครงการได้ปรับแผนการและลดต้นทุนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการดักจับปริมาณ 1 เมตริกตัน ภายในช่วงปี 2020 


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวคิดของโครงการมีความน่าสนใจและสามารถช่วยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปริมาณมหาศาล แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นโครงการที่สิ้นเปลืองมากเกินความจำเป็นและใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินไป ซึ่งสุดท้ายต้องไปเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในที่สุด และการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปริมาณมหาศาลอาจทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่นขึ้นมาแทนได้


สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นรัฐบาลมีเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็น 0% ภายในปี 2050 และเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว อาจต้องกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากถึง 400 ล้าน ถึง 1.8 พันล้านเมตริกตันออกจากชั้นบรรยากาศ


ที่มาของข้อมูล Engadget

ที่มาของข้อมูล 1PointFive 

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ