TNN แค่ใส่ก็ตรวจมะเร็งได้ ! เครื่องสแกนแบบพกพา ตรวจง่าย เพิ่มโอกาสหาย

TNN

Tech

แค่ใส่ก็ตรวจมะเร็งได้ ! เครื่องสแกนแบบพกพา ตรวจง่าย เพิ่มโอกาสหาย

แค่ใส่ก็ตรวจมะเร็งได้ ! เครื่องสแกนแบบพกพา ตรวจง่าย เพิ่มโอกาสหาย

ทีมนักวิจัยจาก MIT พัฒนาเครื่องอัลตราซาวด์สำหรับตรวจมะเร็งเต้านมแบบสวมใส่ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมเองได้อย่างสม่ำเสมอ

อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในปี 2020 โรคมะเร็งเต้านมคร่าชีวิตคนไปกว่า 685,000 คน ซึ่งเป็นโรคที่พบมากในเพศหญิง และสามารถพบได้ในเพศชายด้วยเช่นกัน แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่ในทางการแพทย์ได้รับการยืนยันแล้วว่าการตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการรักษาได้ 


เครื่องตรวจมะเร็งแบบสวมใส่จากทีมนักวิจัยของเอ็มไอที (MIT) 

ทีมนักวิจัยจากเอ็มไอที (MIT) หรือสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ จึงได้พัฒนาเครื่องอัลตราซาวด์แบบสวมใส่สำหรับตรวจหามะเร็งเต้านมขึ้นมา โดยตั้งความหวังว่า จะเป็นเครื่องมือที่แม่นยำและช่วยให้คนทั่วไปเข้าถึงการตรวจหามะเร็งเต้านมได้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของมะเร็งเต้านมเป็น 98%


อุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในรูปแบบของแผ่นแปะที่ยืดหยุ่นซึ่งติดเข้ากับเสื้อชั้นในได้ง่าย ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนตัวติดตามอัลตราซาวนด์ไปตามแผ่นแปะเพื่อถ่ายภาพเนื้อเยื่อเต้านมจากมุมต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่ทำให้เครื่องสแกนอัลตราซาวนด์นี้พกพาสะดวกคือการใช้วัสดุเพียโซอิเล็กทริก ที่ช่วยให้นักประดิษฐ์สามารถย่อขนาดเทคโนโลยีได้ โดยไม่ต้องสูญเสียความสามารถในการสร้างภาพ 


นอกจากนี้ มันยังมีลักษณะเป็นช่องเปิดเหมือนรังผึ้ง ที่พิมพ์ขึ้นจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทำให้สวมใส่ได้คล่องตัวและสวมใส่สบาย มอบประสบการณ์ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน

แค่ใส่ก็ตรวจมะเร็งได้ ! เครื่องสแกนแบบพกพา ตรวจง่าย เพิ่มโอกาสหาย

มะเร็งเต้านมรักษาให้หายได้ หากตรวจเจอเร็ว 

สำหรับการใช้งาน ผู้ใช้งานสามารถใช้อุปกรณ์ได้เองที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งทีมนักวิจัยของ MIT ชี้ว่าการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เจอโรคได้ตั้งแต่ในระยะต้นและทำให้ผู้ป่วยมีอัตรารอดชีวิตเกือบ 100% ในขณะที่การตรวจพบโรคในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตไม่เกิน 25%


โดยอุปกรณ์นี้สามารถทำงานได้ละเอียด แม้ก้อนมะเร็งจะยังมีขนาดเล็ก ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทดลองนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปตรวจสอบกับมนุษย์จริง และพบว่ามันสามารถตรวจหาซีสต์หรือก้อนเนื้อขนาดเล็กที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็ง จนถึงก้อนเนื้อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 เซนติเมตร ได้อย่างดี อีกทั้ง ความละเอียดที่ได้เทียบได้กับเครื่องอัลตราซาวนด์แบบดั้งเดิม และอุปกรณ์สามารถถ่ายภาพเนื้อเยื่อเต้านมได้ลึกถึง 8 เซนติเมตร


อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ดังกล่าวยังเป็นเพียงตัวต้นแบบเท่านั้น ซึ่งยังหาซื้อตามท้องตลอดไม่ได้ โดยนักวิจัยคาดว่าจะนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) มาใช้งานร่วมด้วย เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเต้านมที่แม่นยำมากขึ้น


ข้อมูลจาก designtaxi

ภาพจาก MIT

ข่าวแนะนำ