เปรียบเทียบอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ไทย vs อินโดนีเซีย
เปรียบเทียบอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ไทย vs อินโดนีเซีย สองประเทศดาวเด่นที่มีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำในภูมิภาคทั้งในด้านการผลิตและการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำคัญระหว่างเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานน้ำมันและรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งประเทศต่าง ๆ พยายามเปิดรับการลงทุนและส่งเสริมการใช้งานรถยนต์พลังไฟฟ้าภายในประเทศเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยและอินโดนีเซียถูกยกให้เป็นตัวเต็งที่จะก้าวขึ้นมาเป็นดาวเด่นในภูมิภาคทั้งในด้านการผลิตและการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากโครงสร้างการผลิตที่พร้อมและจำนวนความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศสูง
ในช่วงต้นปี 2023 พบว่าประเทศไทย มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศกว่า 72,158 คัน อย่างไรก็ตามการผลิตแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ใช้การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาผลิตแบตเตอรี่ สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าสถานีอัดประจุไฟฟ้า 2.91 (Low Priority) และมีมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก
1. เงินอุดหนุน 70,000-150,000 บาท/คัน
2. ลดภาษี 0-2%
3. ลดอากรขาเข้าสูงสุด 40%
ในช่วงเวลาเดียวกันประเทศอินโดนีเซีย มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ 15,437 คัน ประเทศอินโดนีเซียมีจุดเด่นตรงที่เป็นแหล่งแร่นิกเกิลในประเทศ 24% ของทั้งโลก ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าสถานีอัดประจุไฟฟ้า 1.64-3.79 (Low-Medium voltage situations) โดยมีมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก
1. เงินอุดหนุน 35,900 คัน
2. ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับจำหน่าย BEV เหลือ 1%
รู้หรือไม่? : ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์ทุกประเภทรายใหญ่อันดับที่ 10 ของโลกในปี 2521 ผลิตรถยนต์ได้ 1,686,000 คัน เพิ่มขึ้น 1.3% จากปี 2020 โดยรถยนต์ 70% ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ
ที่มาของข้อมูล : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. , สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอินโดนีเซีย (Gaikindo) , สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) , Jakataglove, The Star, Brand Buffet
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67