เกิดอะไรขึ้นกับโครงการแมนแฮตตัน คร่าชีวิตคนมากกว่า 200,000 ราย
โครงการแมนแฮตตัน (Manhattan Project) คือโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาที่ทำให้พวกเขากลายเป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่แลกมาด้วยชีวิตของผู้บริสุทธิ์มากกว่า 200,000 ราย !
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1942 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งโครงการแมนแฮตตัน (Manhattan Project) เพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมันก็คือระเบิดปรมาณู (Atomic Bomb) โดยมีนักฟิสิกส์อย่าง เจ โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสร้างระเบิดปรมาณู เพื่อยุติสงครามในโครงการแมนแฮตตัน ซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้รับการขนานนามให้เป็นบิดาแห่งระเบิดปรมาณู
แม้ว่าจุดประสงค์ของการพัฒนาระเบิดปรมาณูคือการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในตอนนั้น และก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 130,000 คน ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 68,000 ล้านบาท แต่มันกลับกลายเป็นเครื่องมือคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปมากกว่า 200,000 ราย
โดยในวันที่ 16 กรกฎาคม 1945 เหล่านักวิทยาศาสตร์ในโครงการแมนแฮตตันได้ทำการทดสอบระเบิดปรมาณูเป็นครั้งแรก ซึ่งมีชื่อปฏิบัติการว่าทรินิตี้ (Trinity) กลางทะเลทรายใกล้เมืองอลามากอร์โด รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพวกเขาพบว่าระเบิดที่พวกเขาพัฒนาสามารถระเบิดได้จริง หลังการพัฒนามากว่า 3 ปี
ระเบิดในเมืองฮิโรชิมา
ต่อมาในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 ระเบิดเพื่อสันตินี้กลับถูกนำไปหย่อนในเมืองฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อปฏิบัติการณ์ลิตเติลบอย (Littleboy) เพื่อแสดงศักยภาพทางสงครามของประเทศสหรัฐอเมริกาในตอนนั้นให้ทั่วโลกเห็น ซึ่งระเบิดปรมาณูที่ถูกปล่อยในเมืองฮิโรชิมารุนแรงเทียบเท่ากับความรุนแรงของระเบิดทีเอ็นที (TNT) ถึง 15,000 ตัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดราว 70,000 คน
แต่ไม่เพียงแค่นั้น ระเบิดลูกนี้ยังฝากผลกระทบระยะยาวเอาไว้ นั่นก็คือรังสีแกมมาที่มักก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โดยมูลนิธิวิจัยผลกระทบจากรังสี (Radiation Effects Research Foundation) ชี้ว่า เมื่อนับจำนวนผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดและผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของรังสีแกมมา ระเบิดลูกนี้ได้พรากชีวิตคนไปประมาณ 90,000 - 166,000 คน
ระเบิดในเมืองนางาซากิ
ต่อมาไม่นาน ในวันที่ 8 สิงหาคม 1945 ระเบิดปรมาณูอีกลูกถูกหย่อนลงในเมืองนางาซากิ (Nagasaki) ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อปฏิบัติการณ์แฟตแมน (Fat Man) ซึ่งระเบิดลูกนี้มีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 25,000 ตัน โดยมีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงของการระเบิดที่ 40,000 คน ซึ่งมีผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากการระเบิดและรังสีแกมมาประมาณ 60,000 - 80,000 คน
ดังนั้นตัวเลขโดยประมาณของผู้เสียชีวิตจากระเบิดทั้ง 2 ลูก คือ 150,000 - 246,000 คน จนในวันที่ 14 สิงหาคม 1945 ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ประกาศแพ้สงคราม ชัยชนะของประเทศสหรัฐอเมริกาส่งผลให้โครงการแมนแฮตตันถูกลดความจำเป็นลง และนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทยอยออกจากโครงการไปทีละคน
โดยรัฐบาลท้องถิ่นเมืองฮิโรชิมาระบุว่า 80% ของรังสีตกค้างถูกปล่อยออกมาภายใน 24 ชั่วโมง หลังการทิ้งระเบิด ซึ่งปัจจุบันค่ารังสีแกมมาในทั้ง 2 เมือง อยู่ในระดับปกติที่มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว
หลังจากการยอมแพ้สงครามของประเทศญี่ปุ่น เหล่านักข่าวเริ่มตั้งคำถามกันว่าการคร่าชีวิตคนกว่า 246,000 คน เพื่อแลกกับชัยชนะว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ แม้กระทั่งตัว เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์เองก็เคยพูดกับประธานาธิบดีเฮนรี ทรูแมน (Henry Truman) ประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในตอนนั้นว่า “ท่านประธานาธิบดี ผมรู้สึกว่ามือเปื้อนเลือด”
ข้อมูลและภาพจาก science.org
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67