TNN ญี่ปุ่นเตรียมส่งดาวเทียม XRISM ศึกษารังสีเอ็กซ์ในอวกาศ

TNN

Tech

ญี่ปุ่นเตรียมส่งดาวเทียม XRISM ศึกษารังสีเอ็กซ์ในอวกาศ

ญี่ปุ่นเตรียมส่งดาวเทียม XRISM ศึกษารังสีเอ็กซ์ในอวกาศ

องค์การอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) เตรียมส่งดาวเทียมดวงใหม่ เพื่อศึกษารังสีเอ็กซ์ในอวกาศ ซึ่งเป็นความร่วมกับนาซา (NASA)

ในวันที่ 23 สิงหาคม 2023 นี้ องค์การอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) จะทำการส่งดาวเทียมเอ็กซ์ริซึม (XRISM) จากศูนย์อวกาศทาเนงาชิมะ (Tanegashima Space Center) ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือกับนาซา (NASA) เพื่อแยกแสงพลังงานสูงออกเป็นแถบสีรุ้ง ซึ่งสามารถช่วยให้ระบุวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศได้


ริชาร์ด เคลลีย์ (Richard Kelley) หัวหน้าทีมวิจัยของภารกิจเอ็กซ์ริซึมของนาซา กล่าวว่า “ดาวเทียมจะทำให้เรามองเห็นวัตถุที่มีพลังมากที่สุดในจักรวาลบางส่วน รวมถึงหลุมดำ, กระจุกกาแลคซีและผลที่ตามมาจากการระเบิดของดาวฤกษ์”

ญี่ปุ่นเตรียมส่งดาวเทียม XRISM ศึกษารังสีเอ็กซ์ในอวกาศ

รวบรวมรังสีเอ็กซ์ (X) จากแหล่งกำเนิดในจักรวาล 

โดยดาวเทียมจะรวบรวมรังสีเอกซ์หลายพันหรือหลายล้านจากแหล่งกำเนิดในจักรวาล ซึ่งจะทำการตรวจจับรังสีเอ็กซ์ที่ 400 - 12,000 อิเล็กตรอนโวลต์ เพื่อวัดสเปกตรัมความละเอียดสูงของวัตถุ ซึ่งก็คือการวัดความเข้มของแสงในช่วงพลังงานต่าง ๆ และใช้ปริซึม เพื่อจำแนกรังสีเอ็กซ์ให้ออกมาอยู่ในแถบสีรุ้ง สำหรับระบุความถี่และพลังงานของรังสีเอ็กซ์ที่ได้รับ ซึ่งจะช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถระบุได้ว่าวัตถุแต่ละวัตถุในอวกาศ ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่าใด


นอกจากนี้ ดาวเทียมจะวัดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเล็กน้อยที่เกิดขึ้นเมื่อรังสีเอ็กซ์กระทบกับเครื่องตรวจจับขนาด 6X6 พิกเซล ซึ่งระหว่างการทำงาน เครื่องตรวจจับจะต้องรักษาอุณหภูมิไว้ประมาณ -460 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ -270 องศาเซลเซียส จึงจะต้องมีการติดตั้งภาชนะบรรจุฮีเลียมเหลวเอาไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิของเครื่องตรวจจับไม่ให้สูงเกินไป เนื่องจากฮีเลียมเหลวมีอุณหภูมิเย็นจัด

ญี่ปุ่นเตรียมส่งดาวเทียม XRISM ศึกษารังสีเอ็กซ์ในอวกาศ

ข้อมูลเชิงลึกของดาวนิวตรอนและหลุมดำ 

“ภารกิจนี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกแก่เราเกี่ยวกับสถานที่ที่ยากที่สุดในการศึกษา เช่น โครงสร้างภายในของดาวนิวตรอนและไอพ่นของอนุภาคความเร็วใกล้แสงที่ขับเคลื่อนโดยหลุมดำในดาราจักร” - ไบรอัน วิลเลียมส์ (Brian Williams) นักวิทยาศาสตร์โครงการเอ็กซ์ริซึมของนาซากล่าว


ข้อมูลและภาพจาก NASA

ข่าวแนะนำ