อินเดียเตรียมส่งภารกิจ Chandrayaan-3 ไปดวงจันทร์
องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation) เตรียมส่งภารกิจจันทรายาน 3 (Chandrayaan 3) ไปยังดวงจันทร์
ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2023 ที่จะถึงนี้ องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation หรือ ISRO) จะส่งภารกิจจันทรายาน 3 (Chandrayaan 3) ไปยังดวงจันทร์ ซึ่งนับเป็นความพยายามครั้งที่ 3 ของประเทศอินเดียในการส่งยานอวกาศไปลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ หลังความล้มเหลวของภารกิจจันทรายาน 1 และ 2 ในปี 2008 และปี 2019 ตามลำดับ
ภารกิจจันทรายาน 3 (Chandrayaan 3)
โดยภารกิจจันทรายาน 3 จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดลันทช์ เวเคิล มาร์ค 3 (Launch Vehicle Mark-III) จากศูนย์อวกาศซาติช ดาหวัน (Satish Dhawan Space Center) ในศรีหริโกตา ประเทศอินเดีย เพื่อปล่อยโมดูลที่บรรทุกยานอวกาศวิกรม (Vikram) เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ ก่อนที่ยานอวกาศวิกรมจะเดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ เพื่อทำการลงจอด เมื่อการลงจอดเสร็จสิ้น ยานอวกาศวิกรมจะทำการปล่อยรถโรเวอร์ปรายัน (Pragyan) ออกมาจากใต้ท้องยาน
ปูรากฐานให้ภารกิจอาร์เทมิส 3 (Artemis 3)
ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน 2023 ประเทศอินเดียได้ลงนามร่วมมือกับนาซา (NASA) ในโครงการอาร์เทมิส (Artemis Program) ซึ่งทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ชี้ว่าข้อมูลการสำรวจที่ได้จากภารกิจจันทรายาน 3 จะถูกนำไปใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งมนุษย์กลับไปลงจอดบนดวงจันทร์ในภารกิจอาร์เทมิส 3 ที่คาดว่าจะดำเนินการภายในเดือนธันวาคม 2025
สำหรับภารกิจจันทรายาน 3 มีจุดประสงค์หลักของภารกิจอยู่ 3 อย่าง คือ
1. ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์อย่างปลอดภัย ณ ลองติจูดที่ 69.367621 องศาใต้ และละติจูด 32.348126 องศาตะวันออก
2. ปล่อยรถโรเวอร์ออกจากยานลงจอด ซึ่งมีเป้าหมายในการสำรวจ 14 วัน
3. ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจวัดความหนาแน่นของพลาสมาพื้นผิวดวงจันทร์
ซึ่งคาดว่ายานอวกาศจะลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์สำรวจประมาณวันที่ 23 -24 สิงหาคม 2023 ที่จะถึงนี้
โดยภารกิจจันทรายาน 3 มีมูลค่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,600 ล้านบาท และหากภารกิจจันทรายาน 3 สามารถลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่ 4 ที่สามารถส่งยานอวกาสไปลงจอกบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ข้อมูลจาก space.com
ภาพจาก ISRO
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67