TNN บริษัทอวกาศจีนเตรียมทดสอบจรวด ZQ-2 ใช้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวเป็นครั้งที่ 2

TNN

Tech

บริษัทอวกาศจีนเตรียมทดสอบจรวด ZQ-2 ใช้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวเป็นครั้งที่ 2

บริษัทอวกาศจีนเตรียมทดสอบจรวด ZQ-2 ใช้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวเป็นครั้งที่ 2

บริษัทอวกาศจีน LandSpace เตรียมทดสอบจรวด ZQ-2 ใช้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวเป็นครั้งที่ 2

วงการอวกาศจีนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดบริษัท แลนซ์สเปซ (Landscape) ในประเทศจีนกำลังทดสอบจรวด ZQ-2 หรือจูเกอ 2 (ZhuQue 2) ใช้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวครั้งที่ 2 ของบริษัท การทดสอบครั้งนี้คาดว่าจะมีขึ้นบริเวณฐานปล่อยจรวด Jiuquan Space Center ทะเลทรายโกบี ในวันที่ 12 กรกฎาคม บริษัทแห่งนี้ได้ฉายาว่าบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) เวอร์ชันประเทศจีน เนื่องจากมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีจรวดเชื้อเพลิงเหลวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน


ก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคมปี 2022 บริษัท แลนซ์สเปซ (Landscape) เคยทดสอบจรวด ZQ-2 ใช้เชื้อเพลิงเหลวเป็นครั้งแรกจากบริเวณศูนย์อวกาศ Jiuquan Space Center ทะเลทรายโกบี จรวดสามารถเดินทางขึ้นสู่ขอบอวกาศตามมาตรฐานสากลได้สำเร็จอย่างไรก็ตามจรวดไม่สามารถเดินทางขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ


จรวด ZQ-2 ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงมีเทนเหลว จรวดสามารถขนส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศน้ำหนักสูงสุด 6 ตัน ไปยังวงโคจรระดับต่ำ ระดับความสูง 200 กิโลเมตร และน้ำหนักสูงสุด 4 ตัน ไปยังวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ระดับความสูง 500 กิโลเมตร โครงสร้างของจรวดมีความยาว 49.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.35 เมตร 


จรวดแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ขั้นตอน จรวดขั้นตอนแรกใช้เครื่องยนต์จรวด TianQue-12 จำนวน 4 เครื่องยนต์ จรวดขั้นตอนที่สองใช้เครื่องยนต์จรวด TQ-12A จำนวน 2 เครื่องยนต์ จุดเด่นของจรวดเชื้อเพลิงเหลวอยู่ที่มีความปลอดภัยมากกว่าจรวดเชื้อเพลิงแข็งและจรวดเชื้อเพลิงไฮโดรเจน รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่การบรรทุกให้กับจรวดมากขึ้น แต่มีข้อเสียอยู่ที่การบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่มีความยุ่งยากในการใช้งานมากกว่า


นอกจากนี้จรวดเชื้อเพลิงเหลวมีจุดเด่นอีกอย่าง คือ จรวดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวมีโอกาสที่จะเดินทางกลับมาลงจอดบนโลกเพื่อเติมเชื้อเพลิงแล้วใช้งานใหม่ แตกต่างจากจรวดเชื้อเพลิงแข็งที่ใช้แล้วทิ้งภายหลังจบภารกิจต่าง ๆ นอกจากนี้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวที่บริษัท บริษัท แลนซ์สเปซ (Landscape) เลือกใช้ยังสามารถพบได้บนดาวอังคารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในอนาคตอาจกลายเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับจรวดที่ใช้เดินทางระหว่างโลกและดาวอังคารก็อาจเป็นไปได้


ปัจจุบันบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ในสหรัฐอเมริกาเป็นบริษัทที่ได้รับการยกให้มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจรวดเชื้อเพลิงเหลวมากที่สุด เทคโนโลยีจรวดของบริษัทแห่งนี้ โดยมีจรวด Falcon 9 เป็นจรวดหลักที่ใช้ในภารกิจขนส่งอวกาศของบริษัท อย่างไรก็ตามจรวด Falcon 9 นั้นใช้เชื้อเพลิงน้ำมันก๊าดและออกซิเจนเหลว จรวดสามารถเดินทางกลับโลกเพื่อเติมเชื้อเพลิงและใช้งานซ้ำมากถึง 16 ครั้ง จากความสำเร็จในภารกิจครั้งล่าสุดที่ผ่าน ส่วนจรวดซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy) และยานอวกาศสตาร์ชิป (Starship) ที่ใช้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวและออกซิเจนเหลวตัวจรวดยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบและพัฒนา


แม้ว่าทางบริษัท แลนซ์สเปซ (Landscape) ยังไม่เปิดเผยออกมาอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการพัฒนาจรวดเชื้อเพลิงเหลวแบบใช้งานซ้ำแต่หากการทดสอบจรวด ZQ-2 ประสบความสำเร็จจะมีความเป็นไปได้สูงมากที่บริษัทจะเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีจรวดที่สามารถเดินทางกลับโลกเพื่อใช้งานซ้ำได้ในอนาคต


ที่มาของข้อมูล Interestingengineering

ที่มาของรูปภาพ Landspace

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ