Gen AI นึกว่าแน่ ! แท้จริงแค่มโน ? รายการ Tech behind the scenes
Gen AI นึกว่าแน่ ! แท้จริงแค่มโน ? ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับ AI และความกังวลว่า AI จะครองโลกจริงไหม ? ใครเสี่ยงตกงาน ? รายการ Tech behind the scenes
“Tech Behind The Scenes” รายการออนไลน์ใหม่แกะกล่องจาก “True Digital Academy x TNN Tech” แง้มดูเบื้องหลังเทรนด์เทคโนโลยีแบบรู้ลึก รู้จริง ! กับเทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ ! “Generative AI” ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับ AI และความกังวลว่า AI จะครองโลกจริงไหม ? ใครเสี่ยงตกงาน ? โดยได้รับเกียรติจาก “พี่เต้” หรือ “รศ.ดร. อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์” หรือ “พี่เต้ ไกลบ้าน” ซึ่งเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ไปเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา
ความแตกต่าง ระหว่าง AI กับ Generative AI
รศ.ดร. อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ให้ความเห็นว่า AI ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันมีความเรียบง่าย (Simple) มันไม่ได้ Generative อะไร มันแค่ตรวจสอบ (Detect) เช่น ตรวจจับเลขทะเบียนรถยนต์บนถนน ส่วน Generative AI ก็เป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประเภทหนึ่ง ที่สามารถสิ่งที่สร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น การสร้างรูปภาพ เขียนหนังสือขึ้นมา สร้างวิดีโอ หรือแต่งเพลงใหม่ขึ้นมา สามารถสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ คล้าย ๆ กับคอนเทนต์ที่เราเคยเห็นมาก่อน แต่ว่าไม่เหมือนกันตรงที่มันมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตัวมันเอง
ตัวอย่างจุดเด่นของ Generative AI ในเรื่องของการเขียน คือ สามารถช่วยตอบอีเมล ช่วยสรุปการประชุม ช่วยแก้ไขการเขียนบทความ เขียนบล็อกโพสต์หรือเขียนแคมเปญ ให้ถูกแกรมมาร์และตัวสะกดต่าง ๆ
ส่วนตัวอย่างของการสร้างภาพของ Generative AI ที่ผ่านมา นิตยสาร Vogue ของอิตาลี ได้ลองใช้เทคโนโลยีนี้ แทนที่จะเรียกนางแบบที่เป็นมนุษย์มาถ่ายโพสต์ท่าต่าง ๆ ตามเสื้อผ้าที่ กลับใช้ Generative AI ให้สร้างภาพเหล่านี้ขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวนางแบบที่เป็นมนุษย์ ช่างกล้อง ช่างแต่งหน้าหรือทีมงานอื่น ๆ และมีการวางจำหน่ายนิตยสารที่มีภาพปกจาก Generative AI จริง ๆ
AI คือเวทมนตร์ ?
ความมหัศจรรย์ของ AI มันคล้ายกับมายากล (Magic) ซึ่งทำให้ รศ.ดร. อรรถพล ตัดสินใจศึกษาทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่กลับพบว่าในตอนหลังมันไม่ใช่มายากลเลย เป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา โดยใช้การเรียนรู้จากชุดข้อมูล เช่น ChatGPT ก็เกิดจากการเรียนรู้ Text ข้อความจำนวนมากและเปลี่ยนเป็นผลลัพธ์ต่าง ๆ การตอบคำถามต่าง ๆ เป็นต้น
รศ.ดร. อรรถพล อธิบายเพิ่มเติมว่าสิ่งที่ ChatGPT เรียนรู้มาจากชุดข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้น อินเทอร์เน็ตมีความรู้เท่าไหน ตัว ChatGPT หรือ Generative AI ก็มีความรู้อยู่เท่านั้น นั่นเท่ากับว่า นี่คือข้อจำกัดของ AI เพราะยังมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่ได้อยู่บนอินเทอร์เน็ตแต่อยู่ในหนังสือเป็นเล่ม ๆ หรือเป็นข้อมูลชั้นความลับบริษัท ทำให้ ChatGPT ไม่สามารถตอบคำถามได้ในบางเรื่อง
AI เป็นนักมโน ?
ข้อควรระวังที่สุดของโมเดลภาษาใน ChatGPT ก็คือ มันมีความ Creative มากเกินไป สามารถแต่งภาษาได้ แต่งกลอนได้ และบังเอิญว่ามันใช้ความสามารถเหล่านี้มาตอบคำถามที่เป็นข้อเท็จจริงของมนุษย์ ทำให้คำตอบบางคำตอบอาจเกิดจากการมโนของ AI ขึ้นมา โดยไม่ใช่ข้อมูลจริง ๆ ที่ถูกต้อง ซึ่งเกิดจากความสามารถในการ Creative สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นล้าน ๆ ครั้งของปัญญาประดิษฐ์จนกว่าจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องหรือพบข้อมูลที่ถูกต้อง บางครั้ง AI ก็แต่งเรื่องขึ้นมาราวกับเรื่องนั้นเกิดขึ้นจริง ๆ แต่เมื่อไปค้นข้อมูลกลับพบว่าไม่มีอยู่จริง
อาชีพที่จะถูก AI ทดแทน
อาชีพกลุ่มนักเขียนและการอ่านอาจกลายเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น นักเขียน SEO ในทุกบริษัทที่มีการจ้างให้เพื่อบูส SEO เวลาค้นข้อมูลก็จะมาเจอหน้าเว็บไซต์ของบริษัทเป็นลำดับแรก ๆ หรืออาชีพที่เกี่ยวกับการเขียนซึ่งเมื่อก่อนอาจต้องใช้จำนวนนักเขียนเยอะก็สามารถใช้คนน้อยลงด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ทดแทน
นอกจากนี้อาชีพที่เกี่ยวของกับงานกราฟิก ภาพวาด ภาพถ่ายหรือวิดีโอ อาจเป็นอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งที่โดนปัญญาประดิษฐ์ทำงานทดแทน ตัวอย่างเช่น ความสามารถของ Generative AI ในการวาดภาพโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่ทำได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ป้อนคำสั่งเข้าสู่ระบบ รวมไปถึงอาชีพเกี่ยวกับการสื่อสารและตอบคำถามซ้ำ ๆ เช่น คอลเซ็นเตอร์ (Call Center) หรือพนักงานตอนรับฝ่ายประชาสัมพันธ์ของตึกออฟฟิศ ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
อาชีพที่จะเติบโตไปพร้อม AI
อาชีพใหม่ ๆ ในบริษัทสตาร์ตอัป เช่น ในซิลิคอนวัลลี เมืองเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ทางด้านของ OpenAI ที่พัฒนา ChatGPT ได้พยายามจะแจกข้อมูลวิธีนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้งานให้กับบริษัทสตาร์ตอัปต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ที่เชื่อมโยงกับ ChatGPT โดยในอนาคตอาจแทรกซึมไปยังบริการต่าง ๆ ได้อีกมากมาย แม้ว่าอาชีพการอ่านและการเขียนอาจได้รับผลกระทบ แต่อาจมองอีกมุมว่าหากนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานเพื่อเสริมการทำงานการอ่านและการเขียนให้ทำได้รวดเร็วขึ้น ก็อาจกลายเป็นโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักเขียนก็เป็นไปได้
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67