TNN ฝรั่งเศสทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบร่อนทำเอง เตรียมไว้คานจีน - รัสเซีย !

TNN

Tech

ฝรั่งเศสทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบร่อนทำเอง เตรียมไว้คานจีน - รัสเซีย !

ฝรั่งเศสทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบร่อนทำเอง เตรียมไว้คานจีน - รัสเซีย !

ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดสอบ V-MaX ไฮเปอร์โซนิกมิสไซล์ที่พัฒนาภายในประเทศแบบ HGV เพื่อเสริมขีดความสามารถในการรบของประเทศเป็นครั้งแรก

ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดสอบวีแมกซ์ (V-MaX) ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบร่อนความเร็วเหนือเสียง หรือเอชจีวี (HGV: Hypersonic Glide Missile) ที่พัฒนาขึ้นมาเอง โดยมีเป้าหมายเป็นการต่อต้านและยกระดับขีดการรบให้ไม่น้อยหน้าจีนและรัสเซียซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งทางยุทธศาสตร์ของตน 


ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบ HGV ของฝรั่งเศส

วีแมกซ์ (V-MaX: Véhicule Manoeuvrant Expérimental) เป็นขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบร่อนความเร็วเหนือเสียง หรือเอชจีวี (HGV) ที่จะถูกยิงขึ้นไปที่ระดับความสูงมาก ๆ ก่อนให้ตัวอาวุธ “ร่อน” ไปด้วยความเร็วเหนือเสียงไปยังเป้าหมาย โดยเคลมว่ามีความเร็วร่อนอยู่ที่ 5 มัค หรือ 6,125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผลิตโดยบริษัท อาเรียดเน่กรุ๊ป (ArianeGroup)


การทดสอบมีขึ้นช่วง 22.00 น. ในวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นของฝรั่งเศส โดยการทดสอบได้พบร่องรอยที่มีลักษณะเป็นเส้นซึ่งเกิดจากแหวกอากาศของวีแมกซ์เหนือน่านฟ้าฝรั่งเศสในเขตที่ใกล้กับสเปน ถึงแม้ว่าผลลัพธ์การทดสอบนั้นทางกองทัพฝรั่งเศสไม่ได้เปิดเผยในตอนนี้ แต่สื่อต่างประเทศเชื่อว่าการทดสอบในครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมเป็นหลัก


ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบ HGV: การแข่งขันด้านอาวุธครั้งใหม่ของชาติมหาอำนาจ

การพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกแบบ HGV นั้นมีความซับซ้อนมาก ทำให้ชาติที่มีความสามารถในการพัฒนาและวิจัยนั้นมีแต่ชาติมหาอำนาจหรือชาติที่ทุ่มงบประมาณด้านการทหาร ซึ่งนอกจากฝรั่งเศสแล้วก็มีเพียง จีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย รวมไปถึงเกาหลีเหนือเท่านั้น


ในปี 2020 เสนาธิการทหารเรือของฝรั่งเศสได้ย้ำว่าอาวุธไฮเปอร์โซนิกเป็นความจำเป็นทางยุทธศาสตร์เพื่อต่อกรกับจีนและรัสเซีย หลังจีนได้ประจำการดีเอฟ แซดเอฟ (DF-ZF) เอชจีวีตั้งแต่ปี 2019 โดยเสนาธิการฯ คาดว่าระบบเอชจีวีของฝรั่งเศสและการยกเครื่องระบบต่อต้านทางอากาศ (Air-defense system) จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างได้หลังปี 2027 นี้


ที่มาข้อมูล Interesting EngineeringWikipedia

ที่มารูปภาพ Northrop Grumman (ใช้ประกอบข่าว)

ข่าวแนะนำ