TNN ยาน Orbiter เสียการควบคุม หมุนรุนแรงหลังแยกตัวจากจรวด

TNN

Tech

ยาน Orbiter เสียการควบคุม หมุนรุนแรงหลังแยกตัวจากจรวด

ยาน Orbiter เสียการควบคุม หมุนรุนแรงหลังแยกตัวจากจรวด

ยานอวกาศออร์บิเตอร์ (Orbiter) เสียการควบคุมและหมุนอย่างรุนแรง หลังแยกตัวออกจากจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) ระหว่างภารกิจนำส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร

ย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา ยานอวกาศออร์บิเตอร์ (Orbiter) ของบริษัทสตาร์ตอัปด้านอวกาศสัญชาติอเมริกันอย่างลันช์เชอร์ (Launcher) ได้เสียการควบคุมและหมุนอย่างรุนแรงในภารกิจออร์บิเตอร์ เอสเอ็น3 (Orbiter SN3) หลังยานอวกาศทำการแยกตัวออกจากจรวดด้วยระบบแยกตัวลันช์เชอร์ 24 (Launcher 24) ของทางบริษัท


โดยยานอวกาศออร์บิเตอร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) ของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) เพื่อดำเนินการส่งกลุ่มดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่วงโคจร 

ยาน Orbiter เสียการควบคุม หมุนรุนแรงหลังแยกตัวจากจรวด

ยานอวกาศหมุนแรงหลังแยกตัวออกจากจรวด 

ล่าสุด มีการเปิดเผยผ่านแถลงการณ์ของบริษัท ลันช์เชอร์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังจากยานอวกาศแยกตัวออกจากจรวด ทีมภาคพื้นดินได้ประสบความสำเร็จกับการเชื่อมต่อสัญญาณเพื่อรับและส่งข้อมูลกับยานอวกาศ แต่ต่อมากลับพบว่ายานอวกาศหมุนวนอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ด้านที่มีแผงโซลาร์เซลล์ของยานอวกาศไม่สามารถหันเข้าหาดวงอาทิตย์ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าให้กับยานอวกาศได้ ซึ่งจะส่งผลให้ยานอวกาศไม่มีพลังงานสำหรับติดต่อกับทีมภาคพื้นดินในเวลาต่อมา

ยาน Orbiter เสียการควบคุม หมุนรุนแรงหลังแยกตัวจากจรวด

ทีมภาคพื้นดินจึงได้ตัดสินใจปล่อยเพย์โหลดที่บรรทุกดาวเทียมเอาไว้เร็วกว่ากำหนด ด้วยระบบแยกตัวสำรองที่มีอยู่บนยานอวกาศ แต่มีโอกาสน้อยที่ระบบแยกตัวข้างต้นจะสามารถส่งเพย์โหลดเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จ ซึ่งเพย์โหลดที่ถูกบรรทุกไปกับยานอวกาศในครั้งนี้มีทั้งหมด 3 เพย์โหลด จากลูกค้า 3 เจ้า โดยหลังจากทำการปล่อยเพย์โหลดเรียบร้อยแล้ว ทีมภาคพื้นดินจึงได้ติดต่อกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าทำการทดสอบเชื่อมต่อสัญญาณกับดาวเทียมของตนเอง


โดยเพย์โหลด 2 ใน 3 สามารถส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จ แต่เพย์โหลดที่บรรทุกดาวเทียมออตเตอร์ ปัป (Otter Pup) จากบริษัท สตาร์ฟิช (Starfish) ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีอวกาศสัญชาติอเมริกัน ได้รับผลกระทบจากการหมุนที่รุนแรงของยานอวกาศออร์บิเตอร์ ทำให้มันไม่สามารถส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จ


ก่อนจะทำการดับเครื่องยนต์ของยานอวกาศ ทีมภาคพื้นดินได้พยายามรับสัญญาณจากยานอวกาศให้ได้มากที่สุดผ่าน 6 สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งทำให้ทีมภาคพื้นดินมีข้อมูลเพียงพอจะวิเคราะห์ได้ว่าข้อผิดพลาดของภารกิจครั้งนี้


แถลงการณ์จากบริษัท 

โดยบริษัท ลันช์เชอร์ ได้ออกมาแถลงข้อผิดพลาดของภารกิจนี้เกิดจากความผิดปกติของซอฟต์แวร์ ซึ่งบริษัทจะดำเนินการแก้ไขเพื่อให้แน่ใจว่าความผิดปกตินี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในภารกิจในอนาคต และจะทำให้ยานอวกาศมีความทนทานต่อข้อผิดพลาดประเภทนี้มากขึ้น ซึ่งลูกค้าในปัจจุบันรวมถึงบริษัท สตาร์ฟิชยังคงจะใช้บริการปล่อยดาวเทียมของบริษัท ลันช์เชอร์ต่อไป โดยภารกิจต่อไปจะมีชื่อว่าออร์บิเตอร์ เอสเอ็น5 (Orbiter SN5) และจะดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2024


ข้อมูลและภาพจาก Launcher

ข่าวแนะนำ