TNN การระเบิดแบบยุบตัวลง (Implosion) แตกต่างจากการระเบิดแบบ (Explosion) อย่างไร ?

TNN

Tech

การระเบิดแบบยุบตัวลง (Implosion) แตกต่างจากการระเบิดแบบ (Explosion) อย่างไร ?

การระเบิดแบบยุบตัวลง (Implosion) แตกต่างจากการระเบิดแบบ (Explosion) อย่างไร ?

ทำความเข้าใจการระเบิดแบบยุบตัวลง (Implosion) แตกต่างจากการระเบิดแบบ (Explosion) อย่างไร ? ภายหลังการระเบิดของเรือดำน้ำไททัน (Titan)

ภายหลังจากหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกาแถลงข่าวเมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมาตามเวลาในประเทศไทย หลังพบซากชิ้นส่วนเรือดำน้ำไททัน (Titan) กระจายอยู่ห่างจากบริเวณด้านหน้าของซากเรือไททานิคประมาณ 487 เมตร และทางด้านของบริษัท โอเชียนเกต เอ็กพิดิชัน ออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าผู้โดยสารพร้อมคนบังคับเรือทั้ง 5 คน ได้เสียชีวิตทั้งหมด

โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเรือได้ถูกแรงดันจากมวลน้ำบีบอัดจนเรือเกิดการระเบิดหรือที่เรียกว่า "อิมโพลชัน" (Implosion) ซึ่งเป็นการถูกบีบอัดจากแรงภายนอกเข้ามาภายใน แตกต่างจากการระเบิดแบบกระจายหรือที่เรียกว่า “เอ็กโพลชัน“ (Explosion) ที่เป็นการระเบิดจากแรงดันภายในสู่ภายนอก

สำหรับการระเบิดแบบ "อิมโพลชัน" (Implosion) เกิดขึ้นจากพลังงานหรือความดันจากภายนอกกระทำกับวัตถุจนถูกบีบอัดไปหาจุดศูนย์กลาง ซึ่งการบีบอัดนี้ ทำให้วัตถุชนกันอย่างรุนแรงและกระจายออก

ซึ่งในกรณีของเรือดำน้ำไททัน (Titan) สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ความดันของน้ำมหาศาลบริเวณก้นมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมากกว่าแรงดันน้ำปกติถึง 400 เท่า หรือมากกว่า 6,000 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว จนโครงสร้างส่วนที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ของเรือไม่สามารถทนต่อแรงดันน้ำได้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าแรงระเบิดอาจมีความรุนแรงจนผู้เสียชีวิตทั้งหมดยังไม่ทันรู้สึกตัว

ส่วนการระเบิดแบบ “เอ็กโพลชัน“ (Explosion) ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและปล่อยพลังงานรูปแบบต่าง ๆ อาจอยู่ในรูปของก๊าซและของเหลว ทำให้เกิดเสียง ความร้อน และการขยายตัวของมวลอากาศที่รุนแรง ส่งผลกระทบกับพื้นที่โดยรอบ เช่น การระเบิดของถังสารเคมีจากภายในจนถังระเบิดออกมาเมื่อได้รับความร้อนมหาศาล

ที่มาข้อมูล Wikipedia.org
ที่มารูปภาพ OceanGate

ข่าวแนะนำ