รู้จักเรือดำน้ำไททัน ทัวร์ชมซากเรือไททานิคลึก 3,800 เมตร
รู้จักเรือดำน้ำไททัน ทัวร์ชมซากเรือไททานิคลึก 3,800 เมตร รองรับภารกิจต่อเนื่อง 96 ชั่วโมง ผู้โดยสาร 5 คน
ก่อนที่ปริมาณอากาศภายในเรือดำน้ำไททัน (Titan) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ ยานน้ำสำรวจ (Submersible vessel) จะหมดลงภายในวันที่ 22 มิถุนายนนี้ หลังจากขาดการติดต่อระหว่างลงไปชมซากอับปางของเรือไททานิคที่จมลงสู่ทะเลลึก 3,800 เมตร บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีลูกเรือ 5 คน อยู่ในเรือดำน้ำและยังไม่ทราบชะตากรรมหรือการติดต่อกลับมายังทีมกู้ภัยบนผิวน้ำ
เรือดำน้ำไททัน (Titan)
เรือดำน้ำไททัน (Titan) มีลักษณะเป็นยานดำน้ำ (Submersible) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการทัวร์ชมซากเรือไททานิคของบริษัท โอเชียนเกต (Oceangate) โครงสร้างมีลักษณะคล้ายท่อเหล็กขนาดใหญ่ผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์และไทเทเนียม ความยาว 6.7 เมตร วงปีกกว้าง 2.8 เมตร ความสูง 2.5 เมตร น้ำหนักเครื่องเปล่า 10.43 ตัน น้ำหนักบรรทุก 685 กิโลกรัม เรือทำความเร็วสูงสุดได้น้ำ 3 นอต (5.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว Innerspace 1002 Electric Thrusters รองรับการภารกิจต่อเนื่อง 96 ชั่วโมง ผู้โดยสาร 5 คน ดำน้ำลึกสูงสุด 4,000 เมตร หรือ 13,123 ฟุต
เทคโนโลยีที่ติดตั้งไปกับเรือดำน้ำกล้องบันทึกภาพ Sub C Imaging 4k Rayfin อุปกรณ์โซนาร์ Teledyne 2D อุปกรณ์ส่องสว่างใต้น้ำติดตั้งภายนอกเรือความสว่าง 40,000 ลูเมน (Lumen) และระบบสแกนแสงเลเซอร์ 2G Robotics Laser Scanner การทำงานของเรือดำน้ำไททันจะใช้เรือพี่เลี้ยงบนผิวน้ำชื่อโพลาร์ ปรินซ์ ทำหน้าที่เป็นเรือพี่เลี้ยง ค่าตั๋วเดินทางของลูกค้าที่ต้องการทัวร์ชมซากเรือไททานิคอยู่ที่ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.7 ล้านบาท โดยใช้เวลาเดินทางไป-กลับ ทั้งหมด 8 วัน
เรือไททานิค (Titanic)
เรือไททานิค เรือโดยสารขนาดใหญ่ที่สุดในโลกของยุคนั้นชนกับภูเขาน้ำแข็งในปี 1912 มีผู้โดยสารและลูกเรือทั้งสิ้น 2,200 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตมากกว่า 1,500 คน การค้นพบซากเรือไทนานิคเกิดขึ้นในปี 1985 โดยทีมงานสำรวจ ดร.โรเบิร์ต บาลลาร์ด โดยใช้เรือดำน้ำอัลวิน (Alvin) และหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลชื่อว่าเจสัน จูเนียร์ (Jason Junior) หลังจากการค้นพบซากเรือไทนานิคทำให้จุดที่ค้นพบซากเรือกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญนำนักท่องเที่ยวลงไปชมซากเรือดำเนินการโดยบริษัท โอเชียนเกต (Oceangate)
ที่มาของข้อมูล CBC.CA
ที่มาของข้อมูล Oceangate
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67