TNN ส่องเทคโนโลยีการเกษตรยุคใหม่ ตัวช่วยดูแลพืชผลแห่งอนาคต | TNN Tech Reports

TNN

Tech

ส่องเทคโนโลยีการเกษตรยุคใหม่ ตัวช่วยดูแลพืชผลแห่งอนาคต | TNN Tech Reports

ส่องเทคโนโลยีการเกษตรยุคใหม่ ตัวช่วยดูแลพืชผลแห่งอนาคต | TNN Tech Reports

จนถึงตอนนี้ การทำการเกษตรได้ถูกพัฒนาให้มีความก้าวหน้าไปมากกว่านั้นแล้วนะ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับสู่ การทำฟาร์มข้าวสาลีกันกลางทะเลทราย ไปจนถึงการพัฒนาเรือนปลูกพืชสำหรับใช้งานบนอวกาศ โดยจะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างนั้น สามารถติดตามต่อด้านล่างนี้ได้เลย



ปัจจุบัน หนึ่งปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตรที่มีผลต่อผลผลิตและความสำเร็จของเกษตรกร คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือ และประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรม เช่น การทำฟาร์มยุคใหม่ ที่ใช้ IoT หรือ Internet of things มาช่วยดูแลและติดตามการเจริญเติบโตของพืชผล ซึ่งช่วยประหยัดแรงงานและเวลาให้กับเกษตรกร


จนถึงตอนนี้ การทำการเกษตรได้ถูกพัฒนาให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับสู่ การทำฟาร์มข้าวสาลีกันกลางทะเลทราย ไปจนถึงการพัฒนาเรือนปลูกพืชสำหรับใช้งานบนอวกาศ โดยจะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างนั้น สามารถติดตามต่อด้านล่างนี้ได้เลย


Biopods


ไบโอพ็อด (Biopods) คือ เรือนปลูกพืชสำหรับใช้งานบนอวกาศเพื่อรองรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอนาคต เป็นการพัฒนาจาก Interstellar Lab สตาร์ตอัปสัญชาติฝรั่งเศส-อเมริกัน โดยลักษณะของไอโอพ็อดมีดังนี้


  • เป็นโมดูลผลิตอาหารแบบยั่งยืน 
  • มีความสูง 5 เมตร 
  • พื้นที่ใช้สอยภายในขนาด 55 ตารางเมตร 
  • เน้นใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชโดยเฉพาะ 
  • ไบโอพ็อด สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้อัตโนมัติ 
  • ออกแบบให้มีความทนทานต่อสภาพอากาศบนอวกาศ


รูปทรงภายนอกมีลักษณะกลมรี ตัวฐานใช้วัสดุที่สามารถถอดประกอบได้ง่าย พื้นชั้นล่างสุดจะเป็นที่เก็บอุปกรณ์ระบบภายใน ส่วนหลังคาด้านบนใช้เป็นวัสดุโพลิเมอร์ที่อ่อนนุ่ม สามารถเป่าลมให้พองออกได้คล้ายกับโดม มีทั้งส่วนที่เป็นหลังคาทึบ และส่วนที่เป็นหลังคาใสเพื่อรับแสง ด้านในจะประกอบไปด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงแสงและน้ำ มีระบบหมุนเวียนรีไซเคิลทั้งน้ำและอากาศกลับมาใช้ใหม่เพื่อความยั่งยืน


ตัวไบโอพ็อดจะควบคุมดูแลพืชด้วยตนเองอัตโนมัติ ผ่านระบบตรวจจับ และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


ในอนาคต ไบโอพ็อดเป็นหนึ่งในโมดูลหลัก ที่จะนำไปประกอบเป็นสถานีวิจัยและที่อยู่อาศัยนอกโลกในชื่อว่า อีไบโอ (Ebios) โดยปัจจุบันตัวต้นแบบของ ไบโอพ็อดส์ ขนาดอัตราส่วนจริงตัวแรกสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วในเดือนกันยายนปี 2022 ที่ผ่านมา ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบ และทดลองใช้งานกับสภาพแวดล้อมบนโลก


ฟาร์มปลูกข้าวสาลีกลางทะเลทราย


ท่ามกลางความร้อนและความแห้งแล้งของทะเลทรายชาร์จาห์ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีวงกลมสีเขียวที่โดดเด่น 8 วงปรากฎอยู่ นั่นคือ ฟาร์มปลูกข้าวสาลีกลางทะเลทราย ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ


  • ตัวฟาร์มมีขนาด 400 เฮกตาร์ หรือประมาณ 2,500 ไร่ 
  • ใช้ระบบผลิตน้ำกลั่นเพื่อการชลประทาน 
  • ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ 
  • ใช้ระบบการถ่ายภาพความร้อน เพื่อรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศและดิน 


ทั้งนี้ก็เพื่อควบคุมอัตราการให้น้ำ และติดตามการเจริญเติบโตของข้าวสาลีได้อย่างต่อเนื่อง และฟาร์มแห่งนี้ยังเป็นฟาร์มที่ปลอดการใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมี และเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมอีกด้วย ผลผลิตที่คาดว่าจะได้จากฟาร์มกลางทะเลทรายแห่งนี้ อยู่ที่ประมาณ 1,600 ตันต่อปี มีแผนที่จะขยายพื้นที่ไปจนถึง 1,900 เฮกตาร์ หรือประมาณ 11,000 ไร่ ภายในปี 2025


E-seed


 อี ซีด (E-seed) คือ นวัตกรรมตัวช่วยขุดหลุมฝังเมล็ดเพื่อให้เมล็ดพืชที่ใช้โดรนบินหว่าน ให้เมล็ดพันธุ์พืชมีโอกาสเจริญเติบโตจากพื้นดินได้มากขึ้น เป็นผลงานการพัฒนาจากทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีลักษณะคล้ายตัวเปลือกหุ้มเมล็ดพืช ทำจากวัสดุไม้บาง ๆ ข้อดีคือสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ โดยนำไม้มาเลื่อยออกเป็นเส้น ๆ แล้วนำไปขึ้นรูปโดยการพันจนเป็นเกลียวแน่น


  • หัวของอี ซีด จะเป็นปลายแหลม ใช้บรรจุเมล็ดพันธุ์พืช 
  • ลำตัวจะม้วนแน่นเป็นเกลียวคลื่น 
  • ส่วนปลายจะมีหางชี้ออกมา 3 หาง ซึ่งเหตุผลที่ทีมวิจัยออกแบบให้มันมี 3 หาง ก็เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มแรงชอนไชในดิน


ทีมนักวิจัยได้ทดลองนำอี ซีดไปหว่านลงบนดินด้วยโดรนบินขนาดเล็ก พบว่าเมื่อเนื้อไม้ของอีซีดโดนความชื้น ส่วนหางและลำตัวของมันก็จะค่อย ๆ หมุน คลายออกและส่งแรงปั่นไปช่วยให้ส่วนหัวชอนไชลงไปในดินได้ดีที่สุด


ด้วยวิธีนี้ เมล็ดพืชที่หุ้มด้วย อีซีด จะฝังตัวลงดินได้ง่ายขึ้น และทำให้เจอกับแหล่งสารอาหารที่จำเป็นในดิน ทำให้เมล็ดพืชงอกใบอ่อนและเติบโตได้ดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาการปลูกพืชด้วยการหว่านเมล็ด ซึ่งมักจะเจอกับปัญหาเมล็ดไม่สามารถชอนไชลงไปในดินได้เอง และบางครั้งยังถูกนกบินมาจิกเมล็ดไปกินด้วย ซึ่งทีมนักวิจัยก็เชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยป้องกันเจ้านกหัวขโมยได้


ข่าวแนะนำ