TNN ภาพวงแหวนดาวฤกษ์เอเลี่ยนโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

TNN

Tech

ภาพวงแหวนดาวฤกษ์เอเลี่ยนโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

ภาพวงแหวนดาวฤกษ์เอเลี่ยนโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) จับภาพอันน่าทึ่งขอวงแหวนรอบดาวฤกษ์เอเลี่ยน 'โฟมัลฮอต (Fomalhaut)'

ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยอันดราส กัสปาร์ (András Gáspár) จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา (University of Arizona) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ส่องไปยังวงแหวนรอบดาวโฟมัลฮอต (Fomalhaut) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวปลาใต้อยู่ห่างจากโลกของเราออกไปประมาณ 25 ปีแสง

ภาพวงแหวนดาวฤกษ์เอเลี่ยนโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

วงแหวน 3 ชั้น ของดาวโฟมัลฮอต (Fomalhaut 

โดยวงแหวนของดาวโฟมัลฮอตประกอบด้วยวงแหวน 3 วงแหวน ซ้อนกันและอยู่ห่างจากตัวดาวฤกษ์ออกมาประมาณ 23 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 150 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) และมีความเย็นมากกว่าดาวเนปจูน

ภาพวงแหวนดาวฤกษ์เอเลี่ยนโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ค้นพบวงแหวนรอบดาวโฟมัลฮอตครั้งแรกในปี 1983 จากดาวเทียมอินฟราเรด (Infrared Astronomical Satellite) ของนาซา (NASA) และถูกถ่ายภาพไว้ได้โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope), กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล (Herschel Space Observatory) และกล้องโทรทรรศน์วิทยุอาคามา (Atacama Large Millimeter/submillimeter Array) แต่ไม่สามารถมองเห็นโครงสร้างภายในของมันได้


เครื่องมืออินฟราเรดช่วงกลาง (Mid-Infrared Instrument) ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) 

ในทางกลับกัน เครื่องมืออินฟราเรดช่วงกลาง (Mid-Infrared Instrument) ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถมองทะลุโครงสร้างของวงแหวนชั้นนอกสุดไปจนถึงวงแหวนชั้นในสุดได้ ซึ่งไม่เคยมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศไหนเคยถ่ายได้มาก่อนและนักดาราศาสตร์คาดว่ามีดาวเคราะห์ซุกซ่อนอยู่ในวงแหวนชั้นในอย่างน้อย 1-2 ดวง


ด้วยความสามารถของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะทำให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาดาวฤกษ์ที่มีวงแหวนรอบ ๆ คล้ายกับดาวโฟมัลฮอตได้ ดาวพฤหัสบดีที่โคจรอยู่เลยจากแถบดาวเคราะห์น้อย (Main Asteriod Belt) ส่วนดาวเนปจูนอยู่ด้านในของแถบไคเปอร์


ข้อมูลและภาพจาก ESA

ข่าวแนะนำ