NASA พัฒนา 'โดรนดับไฟป่า' เตรียมทดลองภาคสนามในอนาคต
นาซา (NASA) กำลังพัฒนาโดรนเพื่อนำมาใช้ในปฏิบัติการดับไฟป่าภายใต้โครงการเอซโร (ACERO)
นาซา (NASA) กำลังพัฒนาโดรนเพื่อนำมาใช้ในปฏิบัติการณ์ดับไฟป่าภายใต้โครงการเอเซโร (ACERO หรือ Advanced Capabilities for Emergency Response Operations) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดับไฟป่าทั้งหมด รวมไปถึงการทำให้ต้นทุนถูกลงด้วย
ไฟป่าในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยแต่ละปีพื้นที่ป่าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบกับไฟป่าหลายครั้ง ซึ่งกินพื้นที่มากถึง 1.5 ล้านเอเคอร์ ตามการรายงานของกรมป่าไม้สหรัฐฯ ซึ่งการดับไฟป่าใช้งบประมาณไปมากถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา
การดับไฟป่าที่ถูกสงวนไว้เฉพาะอากาศยานบางประเภท
ในส่วนของกระบวนการดับไฟป่าในปัจจุบันยังสงวนไว้แค่กับเครื่องบินที่มีทัศนวิสัยการมองเห็นที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการบินเข้าไปในภูมิประเทศหรือชนกับเครื่องบินลำอื่น ทำให้เครื่องบินสามารถบินดับไฟป่าได้แค่ในตอนกลางวันและจะต้องไม่ขึ้นบินในช่วงที่มีควันหนาทึบ
โดยในความเป็นจริง ไฟป่าสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน อีกทั้งการดับไฟป่าตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนมันจะเริ่มมอดและมีควันจางลงอาจช่วยรักษาพื้นที่สีเขียวของผืนป่าไว้ได้มากกว่า นาซาจึงมองว่าโดรนอาจเป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถเข้ามาตอบโจทย์ปัญหานี้ได้
นอกจากนี้ โดรนยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครื่องบินบรรทุกน้ำดับไฟป่า ผู้บังคับโดรน และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน ในระหว่างการตรวจสอบตำแหน่งของไฟป่าทำให้กระบวนการดับไฟป่าตรงตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาการปฏิบัติการและสามารถเข้าถึงพื้นที่ไฟป่ารวดเร็วมากขึ้น เมื่อการดับไฟป่าตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทำได้รวดเร็วก็จะสามารถลดปริมาณควันและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ
สำหรับปัจจุบัน นาซากำลังร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ชุมชนวิทยาศาสตร์และภาคเอกชนเพื่อพัฒนาแนวคิดของโดรนดับไฟป่าให้เป็นจริง ซึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ นาซาคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้จะร่วมมือกับหน่วยงานรับมือไฟป่าเพื่อทำการสาธิตภาคสนาม
ข้อมูลและภาพจาก NASA
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67