TNN ยุโรปส่งยานอวกาศ JUICE ไปสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี

TNN

Tech

ยุโรปส่งยานอวกาศ JUICE ไปสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี

ยุโรปส่งยานอวกาศ JUICE ไปสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี

องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ส่งยานอวกาศ JUICE ไปสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี โดยใช้จรวด Ariane จากบริเวณฐานปล่อยจรวดเฟรนช์เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้

วันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศจูซ (JUICE) หรือ Jupiter Icy Moons Explorer ขึ้นสู่อวกาศโดยใช้จรวด Ariane จากบริเวณฐานปล่อยจรวดเฟรนช์เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้ เพื่อทำภารกิจเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีจำนวน 3 ดวง ประกอบด้วย แกนีมีด คัลลิสโตและยูโรปา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีน้ำในสถานะของเหลวคล้ายมหาสมุทรอยู่ใต้พื้นผิวดาว


กำหนดการเดินทางของยานอวกาศจูซ (JUICE) ยานใช้แรงโน้มถ่วงของโลกและดาวศุกร์ช่วยในการโคจรไปดาวพฤหัสบดี โดยมีกำหนดการเริ่มจากยานโคจรผ่านดวงจันทร์ในเดือนสิงหาคมปี 2024 และโคจรผ่านดาวศุกร์ในเดือนสิงหาคมปี 2025 ก่อนโคจรกลับมาใกล้โลกอีกครั้งในปี 2026  ก่อนออกเดินทางโคจรเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีในช่วงปี 2031 ระหว่างเส้นทางโคจรไปดาวพฤหัสบดียานอวกาศจูซ (JUICE) อาจโคจรเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย 223 Rosa ในปี 2029 อย่างไรก็ตามแผนการนี้ยังคงเป็นเพียงข้อเสนออยู่


เป้าหมายของภารกิจยานอวกาศจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี มุ่งเน้นไปยังดวงจันทร์แกนีมีด การศึกษาลักษณะชั้นมหาสมุทรและการกักเก็บน้ำใต้ผิวดาวของดวงจันทร์แกนีมีด คุณสมบัติทางกายภาพของเปลือกน้ำแข็ง การตรวจสอบชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์แกนีมีด การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของดวงจันทร์ยูโรปา สำรวจมองหาปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต การตรวจสอบใต้พื้นน้ำแข็งของดวงจันทร์ยูโรปาและคัลลิสโต


ส่วนประกอบของยานอวกาศจูซ (JUICE) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้วยกันประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ (Solar Panels) รวมทั้งหมด 10 แผง เนื้อที่ทั้งหมดรวม 85 ตารางเมตร และส่วนโครงสร้างหลักของยานอวกาศติดตั้งอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเครื่องมือสื่อสารส่งข้อมูลกลับมายังโลกโดยใช้จานรับส่งสัญญาณขนาด 2.5 เมตร อุปกรณ์ทั้ง 2 ส่วนของยานอวกาศลำนี้ได้รับการออกแบบให้รองรับการทำงานในอุณหภูมิสูงกว่า 250 องศาเซลเซียส เมื่อยานโคจรเข้าใกล้ดาวศุกร์ และอุณหภูมิติดลบ -230 องศาเซลเซียส เมื่อยานโคจรเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดี 


ที่มาของข้อมูล Space 

ที่มาของรูปภาพ ESA



ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ