นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอุจจาระของนกเพนกวินมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในท้องทะเล
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอุจจาระเป็นปริมาณมากกว่า 574 ตัน ของนกเพนกวินมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในท้องทะเล
ทีมนักวิจัยสถาบันวิจัยทางทะเลของแอนดาลูเซีย (Institute of Marine Sciences of Andalusia หรือ ICMAN) ประเทศสเปน ค้นพบว่านกเพนกวินสายรัดคาง (Pygoscelis antarctica) ขับถ่ายอุจจาระเป็นปริมาณมากกว่า 574 ตัน ลงสู่มหาสมุทรแอนตาร์กติกในทุก ๆ ปี และมีส่วนสำคัญในระบบนิเวศทางทะเล ส่งผลต่อปริมาณสารอาหารในทะเล
การวิจัยครั้งนี้มีขึ้นบริเวณพื้นที่ห่างไกลตามแนวคาบสมุทรแอนตาร์กติกและบนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ นักวิจัยได้ใช้ตรวจสอบวัดค่าสารอาหารและจำนวนของนกเพนกวินสายรัดคางโดยใช้โดรนบินบนอากาศ ทีมงานได้เก็บตัวอย่างอุจจาระของนกเพนกวินเพื่อตรวจสอบปริมาณธาตุเหล็กและวิเคราะห์ทางเคมีเพิ่มเติมพบว่ามีธาตุเหล็กความเข้มข้นสูงประมาณ 3 มิลลิกรัมต่อกรัม
กล่าวกันว่าปริมาณอุจจาระของนกเพนกวินสามารถมองเห็นได้จากอวกาศและเป็นแหล่งอาหารสำคัญของให้แพลงตอนพืชหลายชนิด รวมไปถึงตัวเคย กุ้งขนาดเล็กที่มีปริมาณเป็นล้านล้านตัว ธาตุเหล็กมีส่วนสำคัญในการดักจับคาร์บอน การสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชจำนวนมากส่งผลให้มหาสมุทรมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ
การศึกษามุ่งเน้นไปที่นกเพนกวินสายรัดคางที่มีจำนวนกว่า 3.42 ล้านตัว ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงจากประมาณ 40 ปีก่อนประมาณครึ่งหนึ่ง โดยนักชนิดนี้มีฉายาว่ายามรักษาการณ์ทางทะเล เนื่องจากมักใช้ชีวิตริมชายหาดและพื้นที่อยู่อาศัยห่างไกลมนุษย์ ทีมงานหวังว่าผลการศึกษาจะสามารถช่วยให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา
ที่มาของข้อมูล Newatlas
ที่มาของรูปภาพ Pixabay
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67