TNN ทำความรู้จักอันตรายจากสารกัมมันตรังสีและสรุป 3 วิธี ป้องกัน

TNN

Tech

ทำความรู้จักอันตรายจากสารกัมมันตรังสีและสรุป 3 วิธี ป้องกัน

ทำความรู้จักอันตรายจากสารกัมมันตรังสีและสรุป 3 วิธี ป้องกัน

อันตรายต่อร่างกายมนุษย์ที่เกิดจากการสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี พร้อม 3 วิธี ป้องกัน

ธาตุกัมมันตรังสี (Radioactivity) หมายถึงธาตุที่แผ่รังสีได้เองเนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร ซึ่งเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 82 ตัวอย่างเช่น ไอโอดีน-131 (Iodine-131), โคบอลท์-60 (Cobalt-60) และซีเซียม-137 (Cecium-137) โดยรังสีที่ถูกแผ่ออกมามี 3 ชนิด ด้วยกันก็คือ รังสีแอลฟา (Alpha), รังสีเบตา (Beta) และรังสีแกมมา (Gamma) การทำความเข้าใจถึงอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีและวิธีการป้องกันกัมมันตภาพรังสีจึงมีความสำคัญในการลดอันตรายหรือป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากกัมมันตภาพรังสีได้

ทำความรู้จักอันตรายจากสารกัมมันตรังสีและสรุป 3 วิธี ป้องกัน

อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี 

เมื่อร่างกายของมนุษย์สัมผัสกับรังสีที่ถูกปล่อยออกมาเหล่านี้จะก่อให้เกิดเกิดความผิดปกติบริเวณที่ถูกรังสี เช่น ผื่นแดง, แผลเปื่อยและผมร่วง, เกิดเนื้อเส้นใยจํานวนมากที่ปอด (Pulmonary fibrosis), เม็ดเลือดขาวถูกทําลายอย่างรุนแรงจนเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), ระบบการสร้างโลหิตจากที่ไขกระดูกบกพร่องและร่างกายความต้านทานโรคต่ำ


นอกจากนี้ยังมีผลกระทบที่เกิดกับระบบสืบพันธุ์ด้วย ซึ่งทําให้โครโมโซม (chromosome) เกิดการเปลี่ยนแปลงมีผลทําให้ลูกหลานเกิดเปลี่ยนลักษณะได้


3 วิธี ป้องกันกัมมันตภาพรังสี 

โดยวิธีการป้องกันสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

1. การใช้เวลาอยู่ในบริเวณที่มีการแผ่รังสีให้น้อยที่สุด

2. อยู่ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีให้มากที่สุด ซึ่งความเข้มของรังสีจะแปรผกผันกำลังสองกับระยะห่างจากแหล่งกำเนิด

3. ใช้เครื่องกำบังที่สร้างจากโลหะหนักช่วยดูดกลืนรังสี


โดยกลุ่มธาตุกัมมันตรังสีมักใช้เวลานานในการย่อยสลายตามธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ซีเซียม 137 ที่เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน โดยซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ใช้เวลาย่อยสลายในธรรมชาตินานถึง 100 ปี เนื่องจากใช้เวลาในการย่อยสลายนานทำให้หากสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนเข้าสู่ธรรมชาติในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต 


อย่างไรก็ตาม กัมมันตรังสีไม่ได้มีแค่อันตรายแต่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านธรณีวิทยาที่มีการนำการใช้คาร์บอน-14 (Carbon-14) คํานวณหาอายุของวัตถุโบราณ, ด้านการแพทย์ที่ใช้ไอโอดีน-131 ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์และใช้โคบอลต์-60 และเรเดียม-226 (Radium-226) ในการรักษาโรคมะเร็ง


ข้อมูลจาก Fishseries

ภาพจาก gettyimages

ข่าวแนะนำ